มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน (ลำสาลี)
มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน (ลำสาลี)
ทะเบียนเลขที่ | 75 | วันที่จดทะเบียน | 20 พฤศจิกายน 2494 |
บ้านเลขที่ | 75 | หมู่ที่ | - |
หมู่บ้าน/ชุมชน | - | ซอย | - |
ถนน | กรุงเทพกรีฑา | แขวง | หัวหมาก |
เขต | บางกะปิ | จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
รหัสไปรษณีย์ | 10240 | เขตรับผิดชอบ | มัสยิดเขต 3 |
ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน (ลำสาลี)
มัสยิด ยามีอุ้ลมุตตะกีน |
||||
|
||||
ที่ตั้ง |
เลขที่ - ถนนกรุงเทพกรีฑา
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 |
|||
เลขหมายทะเบียน |
75 |
|||
วัน/เดือน/ปี
ที่รับจดทะเบียน |
20 พฤศจิกายน
2494 |
|||
ผู้ขอจดทะเบียน |
1.นายฮำมะเด็น กลิ่นมาลัย |
ตำแหน่งอิหม่าม |
||
2.นายหะยียะห์ยา แดงโกเมน |
ตำแหน่งคอเต็บ |
|||
3.นายดารณี อิสมาแอล |
ตำแหน่งบิหลั่น |
|||
ประวัติความเป็นมา |
ความเป็นมาของมัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน ลำสาลี ก่อนปี พ.ศ. 2492 หมู่บ้านลำสาลีนั้น
มีสภาพความเป็นอยู่ไม่ผิดอะไรกับชาวชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ อาชีพส่วนใหญ่คือการทำนา
ยามว่างเสร็จจากการทำนาก็หากุ้งหาปลาฆ่าเวลาไปวันๆ
การคมนาคมติดต่อในสมัยนั้นหน้าน้ำก็ใช้เรือ พอถึงหน้าแล้งก็เดินเท้าไปมาหาสู่กัน
ถึงคราวจำเป็นหรือเจ็บไข้ได้ป่วย
ก็ต้องใช้ไอ้ทุยนี่แหละ
ขี่บ้าง เทียมเกวียนบ้าง พูดถึงไอ้ทุย มันก็คือที่มาของ"ลำสาลี" กล่าวคือ
ในตำนานจากการบอกเล่าของคนในอดีตว่า "โต๊ะกีลี" แกเป็นคนเลี้ยงควายชาวบ้านส่วนใหญ่จะนำควายมาให้แกเลี้ยงดูเป็นฝูงใหญ่
ตอนนั้นท้องทุ่งแถบนี้มีทุ่งหญ้าเป็นป่าละเมาะ
โต๊ะกีลีหรือตาสำลีแกจะต้อนควายที่แกดูแลลงคลองหัวหมาก มากินหญ้าในทุ่งแถบนี้ในหน้าแล้ง
ซึ่งอยู่บริเวณหน้ามัสยิดฯในปัจจุบัน นานวันเข้าทางที่แกต้อนควายเดินอยู่ทุกวันก็แปรเปลี่ยนไปเป็นลำรางชาวบ้านเรียกลำรางนี้จนติดปากว่า"ลำตาสำลี"และเพี้ยนมาเป็น"ลำสาลี"ในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นจาก
โต๊ะกีดำ อิสมาแอล โดยนายสมาน อิสมาแอลโอนที่ดิน โฉนดเลขที่ 5769 เล่มที่ 56
หน้า 69 เลขที่ดิน 127 จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 85 วา เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนประถมสายสามัญ และโรงเรียนสอนกุร-อาน พร้อมทั้งชาวบ้าน (สัปบุรุษ) ได้ร่วมกันซื้อที่ดินโฉนดเดียวกันจากกำนันหิรัญ
ฮีมวิเศษ มาอุทิศอีก 1 ไร่ ไว้สร้างอาคารมัสยิด
และได้มีการมีการก่อสร้างโรงเรียนก่อนหลายปีที่จะมีมัสยิด โดยเมื่อวันที่
7 กุมภาพันธ์ 2492 เวลา 8.00 น. ได้มีการยกเสาเริ่มก่อสร้าง โดยตัวอาคารเรียน
มีความยาว 16 เมตร กว้าง 6 เมตร ใช้เวลาในการก่อสร้าง 2 เดือน ใช้งบประมาณ
13,000 บาท
โดยใช้แรงงานของคนในหมู่บ้านในการร่วมกันก่อสร้าง เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงมอบให้ทางราชการ และเปิดทำการสอนเมื่อ
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ใช้ชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลหัวหมาก
5 ต่อมาอีกไม่นานเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนลำสาลี(ราษฎร์บำรุง)
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2493 จึงได้ทำการก่อสร้างอาคารขึ้นอีกหลัง เพื่อใช้เป็นที่สอนศาสนาประกอบกับในสมัยนั้นการละหมาดวันศุกร์จะต้องเดินเท้าไปละหมาดที่มัสยิดหัวหมากน้อย เมื่อมีโรงเรียนสอนศาสนาแล้วและจำนวนประชาชนเพื่อมากขึ้นจึงร่วมปรึกษาหารือกันเห็นควรให้มีการละหมาดวันศุกร์ขึ้นที่โรงเรียนสอนศาสนาก่อน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2494
ก่อนที่จะมีอาคารมัสยิดสมทบทุนต่อเติมอาคารเรียนศาสนาโดยการสร้างหน้ามุกเป็นที่ตั้งมิมบัร เสียงกลองหนังดังกึกก้อง อันแสดงความหมายว่า บัดนี้การเรียกร้องเชิญชวนสู่การละหมาด
ได้เกิดขึ้นแล้วที่ หมู่บ้านลำสาลี
โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนสอนศาสนาเป็นอาคารชั่วคราว และใช้ประกอบศาสนกิจเรื่อยมา และได้ยื่นขอจดทะเบียนมัสยิดซึ่งได้รับการอนุมัติตามพระราชบัญญัติอิสลามเมื่อวันที่
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ทะเบียนเลขที่ 75 ในชื่อ มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน
(ลำสาลี) โดย ตั้งอิหม่าม มุฮัมมะเด็น กลิ่นมาลัย เป็นอิหม่าม และพร้อมกับการแต่งตั้งกรรมการมัสยิดอีก 12
ท่าน (กรรมการชุดแรกที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนมัสยิด) ต่อมา โต๊ะแม๊ะ แดงโกเมน
มารดาโต๊ะโสม โดยนายหะยียะยา แดงโกเมน
(หลาน)
ได้โอนกรรมสิทธิ์อุทิศที่ดินโฉนดที่ 2064 เล่มที่ 19 หน้า 64 จำนวน 5 ไร่
12 วา ไว้ทำกุโบร์ เมื่อเวลาเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนได้เปลี่ยนไป
จำนวนสัปบุรุษเพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานที่ของโรงเรียนที่ใช้ทำการละหมาดไม่พอเพียง
จึงเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องสร้างอาคารมัสยิดขึ้นมาใหม่ ช่วงนั้นอิหม่าม มุฮัมมะเด็น กลิ่นมาลัย
กำลังดำรงตำแหน่งอิหม่าม คณะกรรมการ
และสัป-บุรุษได้ร่วมบริจาครวมเป็นเงินก้อนใหญ่เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นการก่อสร้างอาคารมัสยิด
และแล้วในวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2505
ตรงกับเดือนรอมฎอน ฮ.ศ. 1381
เวลา 8.15 น. ได้ทำการยกเสาอาคารมัสยิดหลังที่ 2 มีขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว
18 เมตร โดยใช้งบประมาณ 100,000 บาท จากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคด้วย
และได้มีการก่อสร้างบาแลและหออาซาน ในปีต่อมาจวบจนในปี พ.ศ. 2530 อาคารไม้หลังที่ 2 ไม่สามารถรองรับจำนวนสัปบุรุษที่เพิ่มมากขึ้น อิหม่ามสุโก๊รต ภู่มีสุข พร้อมกับกรรมการมัสยิดและสัปบุรุษ
จึงได้ประชุมร่วมกันได้มีมติให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารมัสยิดหลังที่ 3
กีหมอเดด โต๊ะโซม เย็นประสิทธิ์ ยื่นมือรับประกันค่าใช้จ่ายตลอดจนเสร็จการก่อสร้าง
ในระหว่างการก่อสร้างให้ใช้อาคารเรียนของโรงเรียน กันซุสซอลีฮีน ให้ยืมสถานที่ทำการละหมาดชั่วคราวจนกว่าอาคารมัสยิดหลังใหม่จะใช้การได้
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
ได้ทำการรื้ออาคารมัสยิดหลังเก่าเพื่อเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง และแล้ววันที่ 1
พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ในตอนเช้า
มีผู้คนมากมายได้รวมตัวกัน เพื่อขอดุอา
และรอคอยเวลาที่จะเริ่มตอกเสาเข็มต้นแรกด้วยความดีใจ และตื้นตันใจ จนทุกอย่างแล้วเสร็จนั่นเป็นการยืนยันในความมั่นคงแข็งแรงและถาวรในการเริ่มต้นการก่อสร้างโดย
คุณสมัย หวังเจริญ เป็นสถาปนิก คุณสุรพร บุญมาเลิศ เป็นวิศวกร อิหม่ามสุโกร๊ต
ภู่มีสุข ติดต่อประสานงานขออนุญาต กทม.
คณะกรรมการและสัปบุรุษดำเนินการก่อสร้างไม่ใช้บริษัทรับเหมาจากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมาและได้รับการบริจาคจากพี่น้องทั้งในและนอกชุมชนสมทบเพื่อใช้ในการก่อสร้าง
นอกจากนั้นแล้วในการดำเนินการก่อสร้าง ได้ใช้บุคคลากร ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการก่อสร้าง
การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และแรงงานก็ใช้คนในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งแล้วเสร็จ
โดยไม่มีการหยุดการก่อสร้างเลย สิ้นงบ
ประมาณค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน
16,715,344.09 บาท และได้ใช้อาคารมัสยิดหลังใหม่ในการประกอบศาสนกิจและกิจกรรมต่างๆมากมาย
พร้อมทั้งได้มีการปรับปรุง เพิ่มเติม เสริมแต่ง ตัวอาคารและบริเวณโดยรอบจนสมบูรณ์
จึงเห็นพ้องต้องกันให้ดำเนินการจัดงานทำพิธีเปิดป้ายและอาคารมัสยิดอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ด้วยปูชนียบุคคลเหล่านี้ที่เราไม่ควรลืม
อัลมัรฮูมกีหมอเดร อัลมัรฮูมมะห์โต๊ะโซม
เย็นประสิทธิ์ เป็นเสาหลัก รองลงมา อัลมัรฮูมกีสะนิ ภู่มีสุข อัลมัรฮูมฮัจยีกอเซ็ม(ลุงเครา)
แดงโกเมน และอัลมัรฮูมอิหม่ามมูฮำมะเด็น กลิ่นมาลัย “ช่วยบอกคนรุ่นหลังให้ทราบว่าบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีพระคุณแก่เรามาก” โทรศัพท์ 02-731-7656 /โทรศัพท์ 02-731-7656 e-mail:
musjid999@hotmail.com |
1. นายฮำมะเด็น กลิ่นมาลัย |
พ.ศ .2492
- 2516 |
2.
นายหวังสุโกต ภู่มีสุข |
พ.ศ. 2516 - 2555 |
3. นายประภาส พ่วงศิริ |
พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน |
1.
นายหะยียะห์ยา แดงโกเมน |
พ.ศ. 2492 - 2530 |
2.
นายหะยีอิสมาแอล พ่วงศิริ |
พ.ศ. 2531 – ปัจจุบัน |
1. นายดารณี อิสมาแอล |
พ.ศ. 2492 |
2. นายสมาน อิสมาแอล |
พ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน |
1. นายเผด็จ กลิ่นมาลัย |
7. นายอดินันท์ มัติศิลปิน |
2. นายนิรันดร์ กลิ่นมาลัย |
8. นายสมบัติ มูนิซา |
3. นายวิศิษฐ์ จันทร์วิเศษ |
9. นายสัญชัย กอนี |
4. นายจำปี บุญมาเลิศ |
10. นายเสรี ซอหะซัน |
5. นายไพบูลย์ ซอหะซัน |
11. นายภักดี อับดุลเลาะ |
6. นายวีรพนธ์ บุญมาเลิศ |
|
1. พันจ่าอากาศเอกเกษม
อิสมาแอล |
7. นายศักรินทร์ พ่วงศิริ |
2. นายจำปี
บุญมาเลิศ |
8. นายสมบัติ มูนิซา |
3. นายยวิศิษฐ์
จันทร์วิเศษ |
9. นายไพบูลย์ ซอหะซัน |
4. นายประภาส พ่วงศิริ |
10. นายอดินันท์ มัติศิลปิน |
5. นายนิรันดร์
กลิ่นมาลัย |
11. นายสัญชัย กอนี |
6. นายวีรพนธ์ บุญมาเลิศ |
|
1. นายกอเดร
มีวงษ์น้อย |
7. นายอับดุลเลาะ
แดงโกเมน |
2.
นายประภาส พ่วงศิริ |
8. นายอะหะหมัด เย็นประสิทธิ์ |
3. นายสมาน มีวงษ์น้อย |
9.
นายซุดดิน มิตรยิ้ม |
4. นายจำปี
บุญมาเลิศ |
10.
พันจ่าอากาศเอกเกษม อิสมาแอล |
5. นายวิศิษฐ์ จันทร์วิเศษ |
11.
นายอารีย์ พ่วงศิริ |
6. นายวีรพนธ์ บุญมาเลิศ |
12.
นายนิรันดร์ กลิ่นมาลัย |
คณะกรรมการอิสลามประจำ มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน (ลำสาลี)
วาระการดำรงตำแหน่ง
-
กรรมการ
ฝ่ายบริหาร
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายการเงิน
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายทะเบียน
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายวิชาการ
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายวิชาการ
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายอาคารสถานที่
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายอาคารสถานที่
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน
รายละเอียดเพิ่มเติม
ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน (ลำสาลี)
ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 929 ครอบครัว จำนวน 2,648 คน ประกอบด้วย
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ | |
- เพศชาย | 1,293 คน |
- เพศหญิง | 1,355 คน |
- รวม | 2,648 คน |
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี | |
- เพศชาย | 112 คน |
- เพศหญิง | 122 คน |
- รวม | 234 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 1,181 คน |
- เพศหญิง | 1,233 คน |
- รวม | 2,414 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี | |
- เพศชาย | 969 คน |
- เพศหญิง | 955 คน |
- รวม | 1,924 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 212 คน |
- เพศหญิง | 278 คน |
- รวม | 490 คน |
ข้อมูลติดต่อ มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน (ลำสาลี)
โทรศัพท์ | 02-731-7656 |
โทรสาร | 02-731-7584 |
มือถือ | - |
อีเมล | musjid999@hotmail.com |
เว็บไซต์ | - |
ยามิอุ้ลมุตตะกีน ลำสาลี | |
- | |
Youtube | - |