วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 13:52 น.

มัสยิดดารู้ลมุตตะกีน  (คู้ขวา)

มัสยิดดารู้ลมุตตะกีน  (คู้ขวา)

ทะเบียนเลขที่ 58 วันที่จดทะเบียน 2 ธันวาคม 2492
บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 11
หมู่บ้าน/ชุมชน - ซอย สุเหร่าคู้วิทยา
ถนน เลียบวารี แขวง คู้ฝั่งเหนือ
เขต หนองจอก จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ 10530 เขตรับผิดชอบ มัสยิดเขต 5


     
    - ไม่มีข่าวและกิจกรรม -


ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดดารู้ลมุตตะกีน  (คู้ขวา)


มัสยิดดารุ้ลมุตตะกีน

 

ที่ตั้ง 

เลขที่  18  หมู่ 11  ซอยสุเหร่าคู้วิทยา  ถนนเลียบวารี   แขวงคู้ฝั่งเหนือ  เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530

เลขหมายทะเบียน

58

วัน/เดือน/ปี ที่รับจดทะเบียน

02   ธันวาคม   2492

ผู้ขอจดทะเบียน

1.นายหะยีฮาซัน     อามีน

ตำแหน่งอิหม่าม

2.นายหะยีอุมารด    หมัดมูซอ

ตำแหน่งคอเต็บ

3.นายหะยีมะตีเยาะ     หริ่มเพ็ง

ตำแหน่งบิหลั่น

 

ประวัติความเป็นมา

  ประวัติมัสยิดบรรพชนมุสลิมที่อพยพมาจากเมืองปัตตานีในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ราว พ.ศ. 2329 ในส่วนที่เป็นช้าราชบริพารในวังปัตตานี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้ตั้งถิ่นฐานพักอาศัยอยู่ที่ละแวกวัดตองปรุ ตำบลบางลำพู และบริเวณบ้านคอกวัว ถนนราชดำเนินกลางในปัจจุบัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการขุดคลองในกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นจำนวนมาก ย่านธุรกิจการค้าได้เกิดขึ้นบริเวณลำคลองเป็นตลาดน้ำแหล่งใหญ่ อยู่ที่สี่แยกมหานคร บรรพชนมุสลิม จากบางลำพูและบ้านคอกวัวส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายถิ่นทำมาหากินไปอยู่ที่หมู่บ้านมหานาค และจากสี่แยกมหานาคในสมัยต่อมาได้ขยับขยายออกไปทำการเกษตรในรอบนอกพระนคร เช่น ที่บ้านคู้ (บริเวณลำคลองแสนแสบส่วนที่คดคู้) ในอำเภอเจียรดับ ต่อมาเป็นอำเภอหนองจอก และละแวกใกล้เคียง เช่นบ้านลำหิน บ้านคลองสิบ เป็นต้น และบางส่วนได้ขยายวงออกไปไกลถึงบ้านบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็มี

          เมื่อชุมชนมุสลิมจามกานครได้อพยพมาอยู่ที่บ้านคู้ ก็ได้มีการสร้างมัสยิดเป็นอาคารชั่วคราวเพื่อใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจต่อพระผู้เป็นเจ้า ไม่มีบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรว่าเริ่มต้นสร้างมัสยิดในปีใด

          ต่อมาในปี ฮ.ศ. 1317 ตรงกับ พ.ศ. 2439 เมื่อ 108 ปีก่อน นายอุมัร หรือแชอุมารฺ ได้อุทิศที่ดินวะก๊อฟให้สร้างมัสยิดหลังนั้น เป็นหลังคามุงจาก ทรงปั้นหยา ใช้เวลาในการสร้าง 10 ปี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2449 ในระยะเวลาต่อมาได้มีประชากรมุสลิมเพิ่มมากขึ้นจึงได้มีการขยายตัวอาคารมัสยิดโดยต่อเติมจากอาคารเดิมอีก หลักฐานของมัสยิดมีปรากฏที่ลายฉลุเหนือประตูทางเข้ามัสยิดด้านขวามือ เป็นภาษามาลายูแปลได้ข้อความว่า มัสยิดแห่งนี้โดยความยินยอมของชาวตำบลนี้ ให้     ตวนฮัจยีอุมัร เป็นผู้สร้างประตูมัสยิดบานนี้ ในปี ฮ.ศ. 1319 และเหนือประตูด้านซ้ายมือมีใจความว่า บิหลั่นจัน เป็นผู้สร้างประตูมัสยิดบานนี้ เสร็จในวันอาทิตย์ ต้นเดือนมุฮัรรอม ฮ.ศ. 1319

          ที่ดินบริเวณมัสยิดใช้เป็นที่ตั้งมัสยิดแปลงหนึ่งมีจำนวน 1 ไร่ 3 งาน 75 ตารางวา ในส่วน    กุโบร์ จำนวน 4 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา

          ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 อิหม่ามในขณะนั้นคือนายหะยีฮาซัน อามีน ได้ขอจดทะเบียนมัสยิดเป็นนิติบุคคลชื่อ มัสยิดดารุ้ลมุตตะกีน (คู้) มีนายหะยีอุมารต  หมัดมูซา เป็นคอเต็บ  และนายหะยีมะดีเยาะ  หริ่มเพ็ง เป็นบิหลั่น

          มัสยิดดารุ้ลมุตตะกีน (คู้) มีที่ดินวะก๊อฟจำนวนมาก แต่เนื่องจากกฎหมายบ้านเมืองในสมัยนั้นอนุญาตให้มัสยิดมีที่ดินได้ไม่เกินจำนวน 50  ไร่ ในส่วนที่เกินคณะผู้ใหญ่ของมัสยิดจึงได้นำไป    จดทะเบียนเป็นทรัพย์สินของ มูลนิธิ โดยในปัจจุบันที่ดินที่เป็นชื่อกรรมสิทธิ์ขยองมัสยิดมีจำนวน 111  ไร่ 3 งาน 47  ตารางวา และที่ดินวะก๊อฟจดทะเบียนสิทธิเป็นมูลนิธิส่งเสริมศิลธรรมอิสลาม ดารุ้ลมุตตะกีน (คู้ขวา) อีกจำนวน 500 ไร่เศษ

 


ผู้บริหารมัสยิดอดีต-ปัจจุบัน
ตำแหน่งอิหม่าม

1. นายหะยีฮาซัน     อามีน

พ.ศ     .2492

2. นายสมรรถ          เดชะโสภณ

พ.ศ.     2502

3. นายฮานาฟี         เช่นขาว

พ.ศ.     2527 – ปัจจุบัน

ตำแหน่งคอเต็บ

1. นายหะยีอุมารด    หมัดมูซอ

พ.ศ.      2492

2. นายอาดำ           ภู่สำลี

พ.ศ.      2511 – 23 กรกฎาคม 2543

3. นายอารีย์           ปานมณี

พ.ศ.      2544 – ปัจจุบัน

ตำแหน่งบิหลั่น

1. นายหะยีมะตีเยาะ     หริ่มเพ็ง

พ.ศ.      2492

2. นาสุชาติ               ลาวัง

พ.ศ.      2511

3. นายมานัฟ         ภู่สำลี

พ.ศ.     2527

4. นายประพันธ์      ภู่สำลี

พ.ศ       2544 – ปัจจุบัน

ตำแหน่งกรรมการ พ.ศ.2556

1. นายสุรชัย    ลอประยูร

7. นายสมาน      กลิ่นสัมฤทธิ์

2. นายประเสริฐ    ลออเงิน

8. นายสมนึก       แก้วผลึก

3. นายสมบูรณ์      มั่นคง

9. นายสุไลมาน    โต๊ะมาน

4. นายสมหมาย    ยะมามัง

10. นายมานิตย์     ภู่สำลี

5. นายสมศักดิ์     พึ่งพา

11. นายธวัชชัย    โพธิ์โซ๊ะ

6. นายสมศักดิ์     ภู่สำลี

12. นายพรชัย    ชัยมานิต

ตำแหน่งกรรมการ พ.ศ.2550

1. นายปรีชา     ภู่สำลี

7. นายสมหมาย    ยะมามัง

2. นายสุมิตร     ยะมามัง

8. นายพรชัย    ชัยมานิต

3. นายสมศักดิ์     ภู่สำลี

9. นายสมาน      กลิ่นสัมฤทธิ์

4. นายสุรินทร์      ศรีโอภาส

10. นายมัดซา      โพธิ์ทอง

5. นายสุรชัย    ลอประยูร

11. นายสมศักดิ์     พึ่งพา

6. นายอำนวย     เชยเอี่ยม

12. นายประเสริฐ    ลออเงิน

ตำแหน่งกรรมการ พ.ศ.2544

1. นายสนิท     สมันเลาะ

7. นายอุดม       พึ่งพา

2. นายวิชัย      ภู่สำลี

8. นายสมนึก     แก้วผลึก

3. นายสมนึก    ลาวัง

9. นายปรีชา      ยะมามัง

 

4. นายปราโมท     พงษ์พิบูล

10 นายมนัส      ซาริม

 

5. นายอุษา      ภู่สำลี

11. นายสุรชัย    ลอประยูร

 

6. นายประสิทธิ์     ภู่สำลี

12. นายหมัด      หมัดเด





 
- ไม่มีข้อมูลคณะกรรมการมัสยิด -


ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดดารู้ลมุตตะกีน  (คู้ขวา)


ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 1,087 ครอบครัว  จำนวน 6,199 คน  ประกอบด้วย

  
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ
 - เพศชาย 3,034 คน
 - เพศหญิง 3,165 คน
 - รวม 6,199 คน
  
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี
 - เพศชาย 332 คน
 - เพศหญิง 316 คน
 - รวม 648 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 2,702 คน
 - เพศหญิง 2,849 คน
 - รวม 5,551 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี
 - เพศชาย 2,164 คน
 - เพศหญิง 2,238 คน
 - รวม 4,402 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 538 คน
 - เพศหญิง 611 คน
 - รวม 1,149 คน

ข้อมูลติดต่อ มัสยิดดารู้ลมุตตะกีน  (คู้ขวา)


โทรศัพท์ 02-543-1153
โทรสาร -
มือถือ 081-580-3863
อีเมล -
เว็บไซต์ -
Facebook -
Twitter -
Youtube -

รูปภาพ มัสยิดดารู้ลมุตตะกีน  (คู้ขวา)

แผนที่ มัสยิดดารู้ลมุตตะกีน  (คู้ขวา)

Scroll To Top