มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)
มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)
ทะเบียนเลขที่ | ธ.9 | วันที่จดทะเบียน | 8 กันยายน 2493 |
บ้านเลขที่ | 647/1 | หมู่ที่ | - |
หมู่บ้าน/ชุมชน | - | ซอย | ช่างนาค |
ถนน | สมเด็จเจ้าพระยา5 | แขวง | สมเด็จเจ้าพระยา |
เขต | คลองสาน | จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
รหัสไปรษณีย์ | 10600 | เขตรับผิดชอบ | มัสยิดเขต 6 |
ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)
ประวัติโดยย่อ |
||||
มัสยิดเซฟี มัสยิดเซฟี หรือ มัสยิดตึกขาว ย่านคลองสาน ตั้งอยู่ในซอยสมเด็จเจ้าพระยา5 (ซึ่งในอดีตมีทางออกสู่ด้านแม่น้ำเจ้าพระยา)
มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยกลุ่มชาวมุสลิมสายดาวุดีโบราห์ ที่เดินทางมาจากเมืองสุหรัต ประเทศอินเดีย ในช่วงต้นรัชสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ชาวมุสลิมกลุ่มนี้เป็นนิกายชีอะห์ ซึ่งเป็นพ่อค้าในบังคับของอังกฤษที่เดินทางเข้ามาค้าขายยังแผ่นดินสยามในช่วงเวลานั้น ชาวไทยมักเรียกชาวมุสลิมกลุ่มนี้ว่า นักกุด่าหรือนักขุด่า ที่เพี้ยนมาจากภาษาเปอร์เชีย แปลว่า เจ้าของเรือสินค้า เนื่องด้วยมุสลิมกลุ่มนี้เป็นเจ้าของเรือสินค้าหลายลำ มีบุคคลสำคัญของชาวมุสลิมกลุ่มนี้เช่น นักกุด่ามอหามัดฝอเรศ (หลวงประเทศไมตรี) นายอับดุลราฮิม (เจ้าของห้างอับดุลราฮิม) นายห้างมัสกาตี (เจ้าของห้างมัสกาตี) ปีที่สร้าง พ.ศ. 2453
ในปี พ.ศ. 2398 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ราชอาณาจักรสยามได้ทำสนธิสัญญากับสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอีก 1 ฉบับ เรียกกันโดยทั่วไปว่า “สนธิสัญญาบาวริง” โดยมีเซอร์จอห์น เบาว์ริงราชทูต ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียเข้ามาทำสนธิสัญญาซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศโดยการสร้างระบบการนำเข้าและส่งออกใหม่เพิ่มเติม จากสนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาฉบับก่อนหน้าซึ่งได้รับการลงนามระหว่างสยามและสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2369 สมัย รัชกาลที่ 3 หลังจากนั้น ได้มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในสยามมากขึ้น รวมทั้งกลุ่มชาวอินเดียเป็นจำนวนมากที่เดินทางเข้ามาในฐานะกลุ่มพ่อค้าโดยดำเนินการค้าอยู่ในย่านราชวงศ์และทรงวาด และมีนิคมของตนเองอยู่ทางฝั่งตรงข้ามแถบท่าดินแดงและคลองสานซึ่งคนอินเดียเหล่านี้ส่วนใหญ่เข้ามาในฐานะ “Subject หรือ คนในบังคับ” หรือที่คุ้นเคยของคนสยามในนามพวก “สัพเย็ก” โดยส่วนหนึ่งของกลุ่มพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาในสยามในเวลานั้น เป็นกลุ่มคนที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่รัฐกุจราต ประเทศอินเดีย นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ โดยเรียกพวกตนเองว่า “มุอ์มิน ดาวูดีโบห์รา” นิยมทำการค้าผ้าแพรพรรณ ดิ้นเงินดิ้นทอง เพชรพลอย ตลอดจนเครื่องเทศ สมุนไพร เครื่องหอม และน้ำอบ เป็นต้น มักตั้งร้านค้าบริเวนถนนเจริญกรุง พาหุรัด ตลาดมิ่งเมือง และแถบวัดเกาะหรือวัดสัมพันธวงศ์ ต่อมากลุ่มคนเหล่านี้โดยการนำของกากายี ซายาอุดดิน โมฮัมหมัดอาลี ร่วมกับมุลลาฮะซัน อาลี ยีวาใบ และนายห้างวาสีได้ติดต่อขอซื้อที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาจากเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด) เมื่อได้ที่ดินแล้วจึงเริ่มสร้างมัสยิดของพวกตนขึ้น และสามารถเปิดใช้ทำศาสนกิจเมื่อปี พ.ศ.2453 มัสยิดที่สร้างขึ้นมีชื่อเรียกว่า “มัสยิดเซฟี”
มัสยิดเซฟี มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบกอธิค ลักษณะคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม โครงสร้างอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ตั้งอยู่บนฐานรากแผ่ที่ทำจากไม้ซุง ภายในอาคารไม่มีเสากลาง ชั้นล่างปูกระเบื้อง มีห้องกิบละต์ หรือ ประชุมทิศ สำหรับผู้นำนมาซ และบนเพดานห้องประดับโคมไฟรูปถ้วยอักขระกูฟี อันเป็นลักษณะเฉพาะของนิกายดาวูดีโบห์ราที่นี่ไม่มีมิมบัรหรือแท่นธรรมาสน์ แต่มีตะฆัรสำหรับให้อิหม่ามนั่งเทศน์ ส่วนชั้นบนเป็นชั้นสำหรับสตรีทำนมาซ โดยมีระเบียงวนโดยรอบ ประดับกระจกสีและลายฉลุไม้สวยงาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มัสยิดเซฟีได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี สามารถรักษาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และคุณค่าทางประวัติศาสตร์เอาไว้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้ง ยังคงบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของชาวมุอ์มิน ดาวูดีโบห์รา
|
||||
ที่ตั้ง |
647/1 ซอยสมเด็จเจ้าพระยา5 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม 10600 |
|||
เลขหมายทะเบียน |
ธ 9 |
|||
วัน/เดือน/ปี ที่รับจดทะเบียน |
28 กันยายน 2493 |
|||
ผู้ขอจดทะเบียน |
นายตาเฮรใบ กูรบานฮูเซ็น |
ตำแหน่งอิหม่าม |
||
นายมูฮำมัดอารี ฮะซันใบ |
ตำแหน่งคอเต็บ |
|||
หะยีอาลีใบ นรไบ |
ตำแหน่งบิหลั่น |
|||
ผู้บริหารมัสยิดอดีต-ปัจจุบัน |
||||
ตำแหน่งอิหม่าม |
||||
มูลลาไตเย็บอาลี ดาวูดยี |
พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2492 |
|||
มุลลาตาเฮร กูรบาน ฮูเซ็น |
พ.ศ. 2493 - พ.ศ. 2540 |
|||
(นายฟัรรุดดีน หะซันอาลี) |
(พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2529) อินเดีย |
|||
(นายยะห์ยา อิบนิโมฮัมมัด ฮูเซ็น) |
(พ.ศ 2529 - พ.ศ. 2532) อินเดีย |
|||
(นายมุลลา กูเรซ ฟัครุดดีน) |
(พ.ศ. 2533- พ.ศ.2540) อินเดีย |
|||
นายมนัส อับดุลลาใบ คัมบาตี |
พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2559 |
|||
นายสม ภิรมย์สวัสดิ์ |
พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562 |
|||
นายวิรุฬห์ พรพัฒน์กูล |
พ.ศ.2562. - ปัจจุบัน |
|||
ตำแหน่งคอเต็บ |
||||
นายนูรุดดิน เฮ อีนาซ์ด ฮูเซ็น |
พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2530 |
|||
นาย พรเทพ พุ่มภักดี |
พ.ศ. 2533. - พ.ศ. 2537 |
|||
นาย เอ็ม อับดุลลา ลาโฮรี |
พ.ศ. 2540. - พ.ศ. 2559 |
|||
นายระบิล พรพัฒน์กูล |
พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562 |
|||
นายสมศักดิ์ กุตบูดิน ฮูเซ็นนีใบ |
พ.ศ.2562- ปัจจุบัน |
|||
ตำแหน่งบิหลั่น |
||||
มุลลา อาลี อับดุลอาลี |
พ.ศ. 2515 - พ.ศ. .2529 |
|||
นายมนัส อับดุลาใบ |
พ.ศ. 2529. - พ.ศ.2540. |
|||
นายสมศักดิ์ กุตบูดิน ฮูเซ็นนีใบ |
พ.ศ. 2540- พ.ศ.2559 |
|||
นายชิตชัย ตินวาลา |
พ.ศ. 2559. - พ.ศ. 2562 |
|||
นายมนต์รักษ์ บุ้ควาลา |
พ.ศ. 2562 - พ.ศ. ................... |
ระหว่างปี พ.ศ. 2453 - 2502 มุลลาไตเย็บอาลีดาวูดยี (ซิดโปรวาลา) ได้รับแต่งตั้งจากอัลวาซารัต ไซฟียะห์ (Al Vasarat Saifeeyah) ประเทศอินเดีย ให้ดำรงตำแหน่ง วาลี มุลลา เป็นผู้ช่วย อาลิลซาเฮบที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่ง อามิล ประจำมัสยิดเซฟีประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้
รายชื่อท่านอามิลซาบที่มาทำกิตมัตประจำประเทศไทย |
||||
ลำดับ |
ชื่อ |
มาถึง |
|
สิ้นสุด |
1
|
มัรฮุม มุลลาอับดุลกาเดอร์ ซาเฮบ โบปาลวาลา
|
ค.ศ. 1910 ฮ.ศ. 1331 พ.ศ. 2543 |
|
|
2 |
มุลลา นาซารอาลี นากปุรวาลา |
|
|
|
3 |
มัรฮุม มียาซาเฮบ เชค. ฮีบาตุลลาใบ |
|
|
|
4 |
มัรฮุม เชค. ไตเย็บใบ เชค. ฮุสเซนใบ ซิคปุรวาลา |
ฮ.ศ. 1333 |
5 ปี |
ฮ.ศ. 1338 |
|
|
ค.ศ. 1914 |
|
ค.ศ. 1919 |
5 |
มัรฮุม จานาบ จาเฟอร์ใบ ซาเฮบ |
22 Shabaan 1338 |
|
8 Safar 1340 |
|
|
18/5/19 |
2.5 ปี |
10/10/1921 |
6 |
ใบซาเฮบอับดุลไตเย็บใบ ซาเฮบ จามาลุคดิน |
ฮ.ศ. 1341 |
6.5 ปี |
ฮ.ศ. 1347 |
|
|
2/11/1922 |
|
9/1/1928 |
7 |
มัรฮุม จานาบ ยูซุฟใบ ซาเฮบ |
ฮ.ศ. 1348 |
2.1 ปี |
ฮ.ศ. 1351 |
|
|
1/5/1929 |
|
2/2/1931 |
8 |
มัรฮุม เชค. กุรบาน ฮุสเซน รัมปุรวาลา |
ฮ.ศ. 1351 ค.ศ. 1931 |
2 ปี |
ฮ.ศ. 1353 ค.ศ. 1933 |
9 |
จานาบ อับดุล ไกยูม ซาเฮบ |
ฮ.ศ. 1353 |
2 ปี |
ฮ.ศ. 1355 |
|
|
ค.ศ. 1933 |
|
ค.ศ. 18/8/35 |
10 |
จานาบ โมฮัมมัดใบ ซาเฮบ มูอีนนุดดีน |
12 Ramadan1354 |
4 ปี |
ฮ.ศ. 1359 |
|
|
12/7/1935 |
|
ค.ศ. 1939 |
11 |
มียาซาเฮบ เชค. อับบาสใบ เชค. ลุกมานยี โกดราวาลา |
ฮ.ศ. 1359 ค.ศ. 1939 |
9 ปี |
ฮ.ศ. 1367 ค.ศ. 1948 |
12 |
มียาซาเฮบ เชค.อับดุลลาใบ เชค.ฮุสเซนใบ ซิคปุรวาลา |
16 Ramadan 1367 ค.ศ.1948 |
3 ปี |
ฮ.ศ. 1370 ฮ.ศ.1951 |
13 |
มุลลา ฟัครุดดิน เชค. กุลเมอาลี มูอัยยิด อุจเจนวาลา |
ฮ.ศ. 1370 ค.ศ. 1951 |
2 ปี |
ฮ.ศ. 1372 ธ.ค.-52 |
14 |
มุลลา ซัจจาดฮุสเซน มุลลา กุลเมอาลี อุไดปุรวาลา |
2Moharram 1373 ค.ศ. 1953 |
4 เดือน |
ฮ.ศ. 1373 ค.ศ. 1953 |
15 |
มียาซาเฮบ เชค.อับดุลไคยุม M.Q. อุไดปุรวาลา |
ฮ.ศ. 1373 ค.ศ. 1953 |
11.2 ปี |
ฮ.ศ. 1384 ค.ศ. 1965 |
16 |
มียาซาเฮบ เชค. ฟัครุดดินใบ M.อานซานอาลี รัมปุรวาลา |
ฮ.ศ. 1384 ค.ศ. 1965 |
8 ปี |
ฮ.ศ.1392 ค.ศ. 1973 |
17 |
มุลลาฮากีมุดดินใบ มุลลาอับดุลรอซูล ฮาแชงกาบาดวาลา |
4 Ramadan 1392 ค.ศ. 1973 |
5.5 ปี |
ฮ.ศ.1398 ค.ศ.1978 |
เชค.อิสมาอีล บานปุรวาลา |
ฮ.ศ.1398 |
5 เดือน |
ฮ.ศ.1398 |
|
|
เชค.อิบราฮีม ดังการปุรวาลา |
ฮ.ศ.1399 |
5 เดือน |
ฮ.ศ.1399 |
18 |
มุลลา ยูซุฟใบ มุลลาอิบราฮีมใบ บานปุรวาลา |
ฮ.ศ. 1400 ค.ศ. 1980 |
5 ปี |
ฮ.ศ. 1405 ค.ศ. 1985 |
19 |
มุลลา ยะยาห์ใบ โมฮำมัด ฮุสเซน อินโดวาลา |
1 Ramadan 1405 ค.ศ. 1985 |
4 ปี |
ฮ.ศ. 1409 ค.ศ. 1989 |
|
Shk. อับเดลลี บานปุรวาลา |
Ramadan 1409
|
||
20 |
มุลลา กูเรซไบ เชค. ฟัครุดดิน ดาโมห์วาลา |
Shabaan 1410 ค.ศ.1990 |
5.9 ปี |
ฮ.ศ.1416 ค.ศ. 1995 |
21
|
ไซฟุดดินใบซาเฮบ อาบีเซอร์ใบซาเฮบ
|
Shabaan 1416 ค.ศ.1996 |
1.8 ปี
|
Jamadil Aakhir 1418 ค.ศ. 1997 |
22
|
เชค.ไตเย็บใบ เชค.G. คูเอลตาวาลา( ปากีสถาน) |
Shabaan 1418 ค.ศ.1997 |
3 ปี
|
Jamadil Aakhir 1421 ค.ศ. 2000 |
23 |
เชค.อับบาสใบ M.A. อุไดปุรวาลา( ปากีสถาน) |
Rajab 1421 ค.ศ.2000 |
5 ปี 6 เดือน |
ฮ.ศ 1426 18th,Jan, 2006. |
24 |
เชคชับบิรใบ นอมานใบ อีซี่ (มาเลเซีย) |
Shabaan 1427 Sep-06 2549 |
3 ปี 9 เดือน |
Jamadal Akhra 1431 |
|
15th,May, 2010 2553 |
|||
25 |
เชคชับบิร อิมรานอาลี มุอ์มิน |
Zilhaj 1431 3 ธ.ค 2553 |
2 ปี |
Shaban 1433 2 ก.ค 2555 |
26
|
เชคโมฮัมมัด เชคอิสมาอิล ไอศรีมวาลา |
Saffar 1433 31 ธ.ค 2555 2012 |
4 ปี
|
Rajab 1437 24 เม.ย 2559 2016 |
27
|
เชคอาลีอัสกัส อาลีฮูเซ็น บฮานปุระวาลา
|
Rajab 1437 2559 2016 |
4 ปี
|
19 Zilqadat 1441 10 ก.ค 2563 2020 |
28 |
เชคโมอีส โซเฮร ซากิร |
Zilqadat 1441 |
|
|
|
2020 2563 |
|
|
คณะกรรมการอิสลามประจำ มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)
วาระการดำรงตำแหน่ง
-
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
ฝ่ายการเงิน
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
ฝ่ายอาคารสถานที่
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
ฝ่ายอาคารสถานที่
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
รายละเอียดเพิ่มเติม
ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)
ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 135 ครอบครัว จำนวน 453 คน ประกอบด้วย
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ | |
- เพศชาย | 208 คน |
- เพศหญิง | 245 คน |
- รวม | 453 คน |
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี | |
- เพศชาย | 2 คน |
- เพศหญิง | 1 คน |
- รวม | 3 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 206 คน |
- เพศหญิง | 244 คน |
- รวม | 450 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี | |
- เพศชาย | 108 คน |
- เพศหญิง | 116 คน |
- รวม | 224 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 98 คน |
- เพศหญิง | 128 คน |
- รวม | 226 คน |
ข้อมูล สถานที่แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)
ข้อมูล สถานที่แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว