มัสยิดดารุ๊ลมุห์ซีนีน (บ้านดอน)
มัสยิดดารุ๊ลมุห์ซีนีน (บ้านดอน)
ทะเบียนเลขที่ | 45 | วันที่จดทะเบียน | 23 สิงหาคม 2492 |
บ้านเลขที่ | 573 | หมู่ที่ | - |
หมู่บ้าน/ชุมชน | - | ซอย | ประเสริฐสิษฐ์ |
ถนน | สุขุมวิท 49/14 | แขวง | คลองตันเหนือ |
เขต | วัฒนา | จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
รหัสไปรษณีย์ | 10110 | เขตรับผิดชอบ | มัสยิดเขต 2 |
ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดดารุ๊ลมุห์ซีนีน (บ้านดอน)
มัสยิดดารุ๊ลมุห์ซีนีน |
||||
|
||||
ที่ตั้ง |
เลขที่ 573 ซอยประเสริฐสิษฐ์ ถนนสุขุมวิท 49/14 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
10110 |
|||
เลขหมายทะเบียน |
45 |
|||
วัน/เดือน/ปี
ที่รับจดทะเบียน |
04 สิงหาคม
2492 |
|||
ผู้ขอจดทะเบียน |
1.นายชม มุสตาฟา |
ตำแหน่งอิหม่าม |
||
2.นายหะยีอามีน หวังภักดี |
ตำแหน่งคอเต็บ |
|||
3.นายหะยีหมัด เลาะเซ็ม |
ตำแหน่งบิหลั่น |
|||
ประวัติความเป็นมา
เมื่อประมาณ 200 ปีล่วงมาแล้ว ชนมุสลิมกลุ่มหนึ่งจากภาคใต้ของประเทศไทย คือ จังหวัดปัตตานี ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ได้มาตั้งภูมิลำเนาเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ในบริเวณถนน สุขุมวิท ซอย 47 (ซอยบ้านดอน) ขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดอน จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านดอน” และยังไม่มีมัสยิดที่จะประกอบศาสนกิจ ต่อมาหมู่บ้านนี้(บ้านดอน) มีคนเพิ่มมาก ขึ้น ทำให้ความเป็นอยู่ได้รับความลำบากนานาประการ เนื่องจากหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนที่ดอน การ ขาดแคลนน้ำและการคมนาคมเป็นปัญหาสำคัญยิ่ง จึงได้รวมกันย้ายหมู่บ้านมาอยู่ที่บ้าน ต้นไทร ริมคลองแสนแสบ เพราะเนื่องจากมีต้นไทรต้นหนึ่ง คนทั่วไปจึงเรียกว่า “บ้านต้นไทร” แต่คนที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่นั้น ได้ย้ายมาจากบ้านดอน จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านดอน” จนกระทั่งปัจจุบัน
เมื่อได้ตั้งหมู่บ้านอยู่ริมคลองแสนแสบแล้ว ความเป็นอยู่ในเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ การคมนาคม ตลอดจนการประกอบอาชีพก็ได้รับความสะดวกสบายขึ้นเป็นอันมาก จนทำให้ทุกคนคิดว่าจะ ต้องสร้างหลักแหล่งอยู่ที่หมู่บ้านนี้ตลอดไป จึงจำเป็นต้องจัดการสร้างมัสยิด เพื่อใช้เป็นสถาน ที่ประกอบศาสนกิจขึ้น แต่มัสยิดสมัยนั้นเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวเล็กๆ ตั้งอยู่ในที่ดินส่วนบุคคล ซึ่ง เจ้าของที่ดินอนุญาตให้มัสยิดอาศัยอยู่ โดยมีฮัจยีฮะ มุสตาฟา เป็นอิหม่าม และเมื่อฮัจยีแป้น ได้มาซื้อที่ดินที่มัสยิดตั้งอยู่ จึงได้วากัฟ(อุทิศ)ให้เป็นที่ดินของมัสยิด ร่วมกับนางมัรยัม(แมะ) เลาะเซ็ม ซึ่งเป็นบุตรสาว เป็นเนื้อที่ 62 ตารางวา เมื่อฮัจยีฮะ มุสตาฟา ได้ถึงแก่กรรมลง ฮัจยี เซ็น หวังภักดี ได้เป็นอิหม่าม และได้ดำรงหน้าที่อิหม่ามด้วยความเรียบร้อยตลอดมา
ต่อมาเมื่อฮัจยีเซ็น หวังภักดี ถึงแก่กรรมลง ฮัจยีอับดุลเลาะห์ กระเดื่องเดช ได้เข้าดำรง ตำแหน่งอิหม่าม ได้บริหารและพัฒนามัสยิดให้เจริญขึ้นเป็นลำดับ โดยท่านได้ซื้อที่ดินวากั ฟ(อุทิศ) ให้เป็นสมบัติของมัสยิดจำนวน 347 ตารางวา ทำให้ที่ดินของมัสยิดมีบริเวณกว้างขึ้น และได้จัดสร้างมัสยิดหลังใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2482 แทนที่มัสยิดหลังเก่าที่มีสภาพทรุดโทรม มัสยิด ที่สร้างขึ้นใหม่นี้เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ทำด้วยไม้สัก มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 14 เมตร มีมุข หน้า สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 1,250 บาท (หนึ่งพันสองร้อยห้าสิบบาท) และหลังจากได้สร้าง มัสยิดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้พิจารณาเห็นว่าที่ดินรอบคลองแสนแสบ ได้ถูกน้ำกัดเซาะพังเข้า มาอยู่เสมอ จึงได้ลงเขื่อนตลอดแนวที่ดินมัสยิดเป็นที่เรียบร้อย สิ้นเงินประมาณ 175 บาท (หนึ่ง ร้อยเจ็ดสิบห้าบาท) ท่านได้ดำรงตำแหน่งอิหม่ามตลอดมาเป็นเวลาประมาณ 27 ปี
เมื่อ พ.ศ. 2488 ฮัจยีอับดุลเลาะห์ กระเดื่องเดช ได้ถึงแก่กรรมลง อิหม่ามชม มุสตาฟา ดำรงตำแหน่งหน้าที่อิหม่ามสืบมา โดยมีนายสมาน(อามีน) หวังภักดี เป็นคอเต็บ ฮัจยีหมัด เลาะเซ็ม เป็นบิหลั่น ในสมัยนั้นมีจำนวนสัปปุรุษและครอบครัวใหม่ๆเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และยังไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องไฟฟ้าและน้ำประปา คณะกรรมการมัสยิดจึงได้ขออนุญาต ติดตั้งขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ จนกระทั่ง พ.ศ. 2504 ปรากฏว่าจำนวนสัปปุรุษยิ่งเพิ่มมากขึ้น จน มัสยิดไม่พอแก่การประกอบศาสนกิจ คณะกรรมการมัสยิดได้ตระหนักถึงเรื่องนี้มาก จึงได้ ประชุมปรึกษาหารือแก้ปัญหา เห็นว่าสมควรให้สร้างอาคารมัสยิดถาวรขึ้น มีขนาดกว้างใหญ่ พอแก่จำนวนสัปปุรุษ ที่จะประกอบศาสนพิธี ซึ่งในการนี้ทางคณะกรรมการมัสยิดได้มี ทุนสำรองจากกรมการศาสนา ที่ได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือเพื่อการซ่อมแซมตัวอาคารมัสยิด หลังเดิมเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท และจะได้ใช้เป็นทุนเริ่มแรกในการวางรากฐานดำเนิน การก่อสร้างมัสยิดหลังใหม่ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ดำเนินการก่อสร้างได้ และใน วาระการประชุมดังกล่าว ปรากฏว่ามีท่านผู้มีจิตศรัทธาอย่างแรงกล้า แสดงเจตจำนงด้วยใจ บริสุทธิ์ ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อสร้างมัสยิดหลังใหม่ ดังมีรายนามต่อไปนี้
พอที่จะก่อสร้างมัสยิดถาวรได้ จึงได้กำหนดโครงการสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น มี ขนาดกว้าง 19 เมตร ยาว 37 เมตร โดยมีหออาซานพร้อมสรรพ แต่ก่อนที่จะลงมือทำการ ก่อสร้าง คณะกรรมการมัสยิดเห็นว่า ควรจะได้ขยายที่ดินให้มีบริเวณกว้างมากกว่าที่มีอยู่เดิม จึงได้ลงมติซื้อที่ดินบริเวณติดต่อกันเพิ่มขึ้นอีก 100 ตารางวา เป็นเงิน 35,000 บาท (สามหมื่น ห้าพันบาทถ้วน) โดยจัดสรรให้บรรดาสัปปุรุษซื้อและได้ทำการวากัฟ(อุทิศ)ให้เป็นสมบัติของ มัสยิดจนเป็นผลสำเร็จ และในการนี้นางกามาเรียะห์ กระเดื่องเดช กับนางแมะ กระเดื่องเดช
ได้วากัฟ(อุทิศ)ที่ดินให้เพิ่มขึ้นอีกรายละ 5 ตารางวา รวมเป็น 10 ตารางวา ดังนั้นมัสยิดจึงมี ที่ดินรวมทั้งสิ้น 519 ตารางวา แต่ด้วยบริเวณส่วนหนึ่งของที่ดินที่จะสร้างมัสยิดหลังใหม่เป็น บ่อใหญ่และลึก จำเป็นต้องจัดการถมดินเสียก่อน และในการนี้ฮัจยีมะห์มูด มะลิ และนายพัน โพธิบุตร ได้ยอมให้ขุดดินในที่ดินของตน เพื่อมาถมบ่อจนเต็มเป็นที่เรียบร้อย
ด้วยมัสยิดนี้ตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบ ซึ่งการคมนาคมทางบกยังไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร คณะกรรมการจึงได้มีโครงการตัดถนนเข้าสู่มัสยิด เชื่อมจากซอยประเสริฐสิษฐ์ ซึ่งซอยนี้แยก จากซอยสุขุมวิท 49 (ซอยกลาง) ในการนี้ได้มีผู้ยินยอมให้ที่ดินสำหรับทำถนน พร้อมด้วยเนื้อ ดินถมเป็นถนนคือ
ฮัจยีกอเซ็ม หนูรักษ์ เนื้อที่ 160 ตารางวา ฮัจยะห์ฮัฟเซาะห์ ออมแก้ว เนื้อที่ 160 ตารางวา ฮัจยีหวังลี จิตต์อีหมั่น เนื้อที่ 100 ตารางวา นายหรี่ นางเด๊ะ เนื้อที่ 11 ตารางวา
ฮัจยีซัลลีม หนูรักษ์ เนื้อ 80 ตารางวา นางแมะ กระเดื่องเดช เนื้อที่ 67 ตารางวา ฮัจยีเกษม วงษ์ปถัมภ์ เนื้อที่ 69 ตารางวา ฮัจยีเดช หนูรักษ์ เนื้อที่ 69 ตารางวา
ต่อจากนั้นได้จัดทำถนนกว้าง 4 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร และนายพัน โพธิบุตร ได้สละ ที่ดินถมถนนเพิ่มขึ้นอีกจน แล้วเสร็จเมื่อได้จัดทำถนนและขยายที่ดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างมัสยิดโดยวิธีการเปิดซองประมูลราคา ซึ่งได้แก่ บริษัทวัฒนา ก่อสร้างจำกัด เป็นรับเหมาทำการก่อสร้างตามแบบแปลนของเทศบาลนครกรุงเทพฯ
โดยคณะกรรมการและสัปปุรุษ ได้มอบความไว้วางใจแต่งตั้งให้นายสมพร พุ่มดอกไม้ กรรมการมัสยิดคนหนึ่ง ผู้เป็นกำลังสำคัญในการก่อสร้างครั้งนี้ เป็นผู้เซ็นสัญญากับบริษัท วัฒนาก่อสร้างจำกัดแต่เพียงผู้เดียว และได้แต่งตั้งฮัจยีสมาน หวังภักดี คอเต็บ และฮัจยีหมัด เลาะเซ็ม บิหลั่น เป็นหัวหน้าควบคุมการก่อสร้าง และได้แต่งตั้งให้อาจารย์มูฮำหมัด มะหะหมัด (ครูหมัดไฝ) เป็นเจ้าหน้าที่รับเงินบริจาค ทำหน้าที่ควบคุมดูแลและเก็บรักษาเงินของมัสยิดแต่ผู้ เดียว
นอกจากนี้ในชุมชนสุเหร่าบ้านดอน ยังมีสถาบันสอนศาสนา ที่ผลิตบุคลากรรับใช้ สังคมมุสลิมมากมาย นั่นคือ โรงเรียนมิฟตาฮุ้ลอุลูมิดดีนียะห์ และยังมีโรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน เป็นโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ทำการสอนบุตรหลานของชุมชนสุเหร่าบ้านดอนใน ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น
ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดดารุ๊ลมุห์ซีนีน (บ้านดอน)
ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 535 ครอบครัว จำนวน 2,846 คน ประกอบด้วย
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ | |
- เพศชาย | 1,431 คน |
- เพศหญิง | 1,415 คน |
- รวม | 2,846 คน |
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี | |
- เพศชาย | 10 คน |
- เพศหญิง | 12 คน |
- รวม | 22 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 1,421 คน |
- เพศหญิง | 1,403 คน |
- รวม | 2,824 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี | |
- เพศชาย | 1,047 คน |
- เพศหญิง | 973 คน |
- รวม | 2,020 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 374 คน |
- เพศหญิง | 430 คน |
- รวม | 804 คน |