มัสยิดยามีอุลอิสลาม (รามคำแหง)
มัสยิดยามีอุลอิสลาม (รามคำแหง)
ทะเบียนเลขที่ | 52 | วันที่จดทะเบียน | 16 กันยายน 2492 |
บ้านเลขที่ | 98 | หมู่ที่ | - |
หมู่บ้าน/ชุมชน | - | ซอย | รามคำแหง 53 |
ถนน | รามคำแหง | แขวง | หัวหมาก |
เขต | บางกะปิ | จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
รหัสไปรษณีย์ | 10240 | เขตรับผิดชอบ | มัสยิดเขต 3 |
ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดยามีอุลอิสลาม (รามคำแหง)
มัสยิดยามีอุลอิสลาม |
||||
|
||||
ที่ตั้ง |
เลขที่ 98 ซอยรามคำแหง
53 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240 |
|||
เลขหมายทะเบียน |
52 |
|||
วัน/เดือน/ปี
ที่รับจดทะเบียน |
16 กันยายน
2492 |
|||
ผู้ขอจดทะเบียน |
1.นายหะยีเฮม เกิดอยู่ |
ตำแหน่งอิหม่าม |
||
2.นายมะหมัด อามีน |
ตำแหน่งคอเต็บ |
|||
3.นายเฮม หมัดนุรัก |
ตำแหน่งบิหลั่น |
|||
ประวัติความเป็นมา |
ภูมิหลัง บรรพชนมุสลิมที่อพยพมาจากเมือง “ยามู” หรือ ยะหริ่ง ปัตตานีในสมัยรัชกาลที่ 1
และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่หมู่บ้านสามอิน
บ้านคลองตัน อำเภอพระโขนง ต่อมามีลูกหลานเพิ่มมากขึ้น
พื้นดินอันเป็นที่ประกอบอาชีพหลักทางการเกษตร (ทำนา-ข้าว)
ไม่พอกับจำนวนประชากรจึงได้อพยพย้ายถิ่นมาอยู่ในหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านวัดตึก
บ้านวัดกลาง คลองลาดพร้าว บ้านหลอแหล บ้านคลองสี่วังเล็ก (มีนบุรี) เป็นต้น ประวัติเริ่มต้นของมัสยิด
ยามีอุลอิสลาม (สุเหร่าวัดตึก) แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ในราวปี
พ.ศ. 2440 ณ บริเวณหมู่บ้านวัดตึก ตำบลหัวหมาก
ได้มีกลุ่มมุสลิมอพยพมาจากบ้านสามอิน บ้านคลองตัน บ้านคลองกะจะ มารวมตัวกัน
ตั้งเป็นชุมชนมุสลิมแห่งใหม่ขึ้น มุสลิมกลุ่มดังกล่าวได้ร่วมกันสร้างสถานประกอบกิจกรรมทางศาสนาขึ้นเรียกว่า
“บาแล”
เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวมีผู้นำคนแรกคือ ฮัจยีมูฮำหมัด (แหยม)
หลังจากนั้นเมื่อชุมชนเกิดการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น “บาแล” หลังเก่าไม่พอกับจำนวนผู้มาปฏิบัติ ท่านผู้นำคือ ฮัจยีอิบรอเฮม เกิดอยู่ จึงได้วะก๊อฟ (อุทิศ) ที่ดินส่วนตัว
จำนวน ต่อมาในปี
พ.ศ. 2512 โดยการนำของท่านอิหม่ามเด๊ะ
ขำวิลัย และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดพร้อมทั้งสัปปุรุษขณะนั้น
ลงมติให้สร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่เพื่อรองรับสุปปุรุษผู้คนที่มาร่วมละหมาดได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากในสมัยนั้นทางราชการได้มาก่อสร้างสนามกีฬาขนาดใหญ่
และจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5
พร้อมทั้งจัดงานแสดงสินค้านานาชาติขึ้น
ในบริเวณฝั่งตรงข้ามกับมัสยิดยามีอุลอิสลาม
ประกอบกับประชาชนจากถิ่นอื่นได้อพยพเข้ามาประกอบอาชีพในบริเวณนี้
เป็นจำนวนมากเป็นทวีคูณ อาคารมัสยิดหลังใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่สูง
1 ชั้นครึ่ง ตกแต่งผิวภายนอก และภายในด้วยหินอ่อนจากอิตาลี โดยคุณไพจิตร พงศ์พรรณพฤกษ์
สถาปนิกมุสลิมเป็นผู้ออกแบบการก่อสร้างมัสยิดยามีอุลอิสลาม
และได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2514 (รวมค่าก่อสร้างประมาณ ห้าล้านบาท)
และในปีเดียวกันนี้กับทางราชการได้ประกาศจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงขึ้น
ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิด
โดยใช้อาคารที่แสดงสินค้านานาชาติเป็นสำนักงานและอาคารเรียนของคณะต่างๆ
มหาวิยาลัยรามคำแหงอยู่ฝั่งตรงข้ามกับมัสยิดยามีอุลอิสลาม
ประชาชนทั่วไปจึงเปลี่ยนการเรียกชื่อมัสยิดใหม่ จาก “มัสยิดยามีอุลอิสลาม (สุเหร่าวัดตึก)” เป็น “มัสยิดยามีอุลอิสลาม (รามคำแหง)” หรือ “มัสยิดหน้าราม” ต่อมาสัปปุรุษ
และนักศึกษามุสลิมจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มาร่วมละหมาดวันศุกร์เป็นจำนวนมาก
ตัวอาคารมัสยิดไม่พอกับจำนวนของผู้ที่มาปฏิบัติศาสนกิจ อิหม่ามซุกรี่ ฉิมหิรัญ และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542
ดำเนินการขยายตัวอาคารมัสยิดออกทางทิศเหนือ
และทิศใต้จนเต็มพื้นที่ติดขอบรั้วริมคลองแสนแสบ แต่รูปทรงยังยึดสถาปัตยกรรมเดิม
สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 7,359,900 บาท (เจ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นเก้าพันเก้าร้อยบาทถ้วน)
ใช้เวลาในการก่อสร้าง 1 ปีเต็ม
ในอาคารมัสยิดปัจจุบันประกอบด้วยพื้นที่สำหรับละหมาดของชายและหญิง
แยกออกจากกันเป็นกิจจะลักษณะ มีห้องประชุมขนาด 15 ที่นั่ง
พร้อมอุปกรณ์ในการประชุมครบสมบูรณ์ |
1. นายหะยีเฮม เกิดอยู่ |
พ.ศ .2492 |
2. นายเด๊ะ ขำวิลัย |
พ.ศ. เดิม - 2529 |
3. นายสงวน ฉิมหิรัญ |
พ.ศ. 2529 – 11 มิถุนายน 2556 |
4. นายสุธี เกตุประสิทธิ์ |
พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน |
1. นายมะหมัด อามีน |
พ.ศ. 2492 |
2. นายจำปี ลงสุวรรณ |
พ.ศ. เดิม - 2529 |
3. นายมนตรี เย็นประเสริฐ |
พ.ศ. 2529 – ปัจจุบัน |
1. นายเฮม หมัดนุรัก |
พ.ศ. 2492 |
2. นายหมัดสอิ๊ด เกตุประสิทธิ์ |
พ.ศ. เดิม |
3. นายหมัด สาลี |
พ.ศ. 2539 – ปัจจุบัน |
1. นายสุรัตน์ เกิดอยู่ | 7. นายอนุชิต ว่องไว |
2. นายฤทธิชัย แสงวิมาน | 8. นายยะฟัด เชาว์ไว |
3. นายไพโรจน์ ฉิมหิรัญ | 9. นายสมศักดิ์ เกิดอยู่ |
4. นายอ๊าดนาน สาลี | 10. นายบุญมา วงษ์สันต์ |
5. นายสมศักดิ์ กันซัน | 11. นางลัดดา ขำวิไล |
6. นายสมชาย ก้อพิทักษ์ | 12. นางไมมูน๊ะ อาริยะ |
1. นายวีระพล
อารวรรณ |
7. นายยะฟัด เชาว์ไว |
2. นายจรูญ
กันซัน |
8. นายอ๊าดนาน สาลี |
3. นายไพโรจน์
ฉิมหิรัญ |
9. นายสมชาย ก้อพิทักษ์ |
4. นายฤทธิชัย
แสงวิมาน |
10. นายอนุชิต ว่องไว |
5. ว่าที่ ร.ต. สุเมธ
ฉิมหิรัญ |
11. นายสมพล เนียมศิริ |
6. นายสุรัตน์
เกิดอยู่ |
12.
นางลัดดา ขำวิไล |
1. นายวีระพล
อารวรรณ |
7. นายประเสริฐ บุญเพชร |
2. นายไพโรจน์
ฉิมหิรัญ |
8. นายการีม สาลี |
3. นายสุธี
เกตุประสิทธิ์ |
9. นายยะฟัด เชาว์ไว |
4. นายสมหมาย กำมะหยี่ |
10. นายพูลสุข กัสตัน |
5. นายจรูญ
กันซัน |
11. นายจรินทร์ ทับเปลี่ยน |
6. นายเฉลิมชัย
ฉิมหิรัญ |
12. นายอีซา สาลี |
1. นายสมหมาย กำมะหยี่ |
7. นายจันทร์ เชาว์ไว |
2. นายวีระพล
อารวรรณ |
8. นายเจริญ ดาราฉาย |
3. นายจรูญ
กันซัน |
9. นายไพโรจน์ ฉิมหิรัญ |
4. นายประเสริฐ
บุญเพชร |
10. นายกอเซ็ม กันซัน |
5. นายสุธี
เกตุประสิทธิ์ |
11. นายมะหะมุด เกิดอยู่ |
6. นายเฉลิมชัย
ฉิมหิรัญ |
12. นายอานันท์ ฤทธิ์งาม |
ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดยามีอุลอิสลาม (รามคำแหง)
ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 869 ครอบครัว จำนวน 3,810 คน ประกอบด้วย
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ | |
- เพศชาย | 1,887 คน |
- เพศหญิง | 1,923 คน |
- รวม | 3,810 คน |
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี | |
- เพศชาย | 190 คน |
- เพศหญิง | 169 คน |
- รวม | 359 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 1,697 คน |
- เพศหญิง | 1,754 คน |
- รวม | 3,451 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี | |
- เพศชาย | 1,385 คน |
- เพศหญิง | 1,358 คน |
- รวม | 2,743 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 312 คน |
- เพศหญิง | 396 คน |
- รวม | 708 คน |