มัสยิดอัล-เอาว์ก๊อฟ (กม.8)
มัสยิดอัล-เอาว์ก๊อฟ (กม.8)
ทะเบียนเลขที่ | 127 | วันที่จดทะเบียน | 10 กุมภาพันธ์ 2525 |
บ้านเลขที่ | 127 | หมู่ที่ | - |
หมู่บ้าน/ชุมชน | - | ซอย | เปรมฤทัย 1 |
ถนน | รามอินทรา 46/1 | แขวง | คันนายาว |
เขต | คันนายาว | จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
รหัสไปรษณีย์ | 10230 | เขตรับผิดชอบ | มัสยิดเขต 3 |
-
ขอเชิญร่วมงานการกุศล รวมน้ำใจสู่มัสยิดอัล-เอาว์ก๊อฟ
ขอความสันติสุขจงประสบแด่ท่าน อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น คณะกรรมการ และสัปปุรุษมัสยิดอัล-เอาว์ก๊อฟ มีความยินดีขอเรียนเชิญท่านร่วมเป็นเกียรติ และดื่มน้ำชาการกุศล เพื่อหารายได้ใช้ในกิจการของมัสยิด และการศึกษา ในงาน "รวมน้ำใจสู่ อัล-เอาว์ก๊อฟ" ในวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2566 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 21.30 น. ณ มัสยิดอัล-เอาว์ก๊อฟ เลขที่ 127 ซอยรามอินทรา 46 (กม.8) ถนนรามอินทรา แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหา ... อ่านต่อเพิ่มเติม » -
ขอเชิญร่วมงาน
-
งานการศึกษา
-
วันตรุษอีฎิ้ลอัดฮา
ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดอัล-เอาว์ก๊อฟ (กม.8)
มัสยิดอัล-เอาว์ก๊อฟ |
||||
|
||||
ที่ตั้ง |
เลขที่ 127 ซอยเปรมฤทัย 1 ถนนรามอินทรา แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว
กรุงเทพมหานคร 10230 |
|||
เลขหมายทะเบียน |
127 |
|||
วัน/เดือน/ปี
ที่รับจดทะเบียน |
10 กุมภาพันธ์
2525 |
|||
ผู้ขอจดทะเบียน |
1.นายสมัย สะมะแอ |
ตำแหน่งอิหม่าม |
||
2.นายอำมาตย์ ละใบยูโซ๊ะ |
ตำแหน่งคอเต็บ |
|||
3.นายสุข จันโต |
ตำแหน่งบิหลั่น |
|||
ประวัติความเป็นมา |
ความเป็นมาของ “อัล –
เอาว์ก๊อฟ” ณ
ตำบลหมู่บ้านแห่งนี้เมื่ออดีต
เดิมทีชาวบ้านรู้จักชื่อเรียกกันว่า “บางขวด”
ซึ่งจะมีความหมายลึกๆย้อนหลังลงไปอีกนั้นไม่สามารถจะทราบได้กับที่มาของชื่อนี้ ต่อมาเมี่อได้มีประชาชนชาวชนบทเข้ามาประกอบอาชีพในเมืองหลวงมากขึ้น
ทำให้กรุงเทพมหานครแออัดไปด้วยผู้คนที่มาอยู่อาศัย
จึงทำให้มีบรรดาบริษัทมาจัดสรรขายที่ดินเช่าซื้อระบบผ่อนส่งชำระรายเดือนให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยเพื่อมาซื้อปลูกบ้านเป็นที่อยู่อาศัยซึ่งดีกว่าการเช่าบ้านที่ไม่มีโอกาสเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองในอนาคต
โดยได้มีห้างหุ้นส่วนจำกัดบ้านและที่ดินเปรมฤทัยมาเปิดทำการจัดสรรขายที่ดินผ่อนชำระรายเดือนเป็นล็อคๆละ
20 30
40 และ 50 ตารางวา
ในบริเวณหมู่บ้านดังกล่าว
หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ตรงหลักกิโลเมตรที่ 8 ของถนนรามอินทราซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างเขตมีนบุรีกับบางเขน
ปัจจุบันเป็นชุมชนที่รู้จักกันด้วยชื่อว่า ชุมชนหมู่บ้านเปรมฤทัย 1 ถนนรามอินทรา ก.ม. 8
ณ ชุมชนแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.2519
ได้มีพี่น้องมุสลิมย้ายมาปลูกบ้านเป็นที่อยู่อาศัยในที่ดินจัดสรรดังกล่าวประมาณ
10 กว่าครอบครัวและเนื่องจากเป็นท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกล ไม่มีโรงเรียนสอนศาสนาและไม่มีมัสยิด
จึงได้มีการปรึกษาหารือร่วมกันคิดที่จะหาที่ดินเพื่อปลูกทำเป็นบาแลสักหลังหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่สอนอัลกุรอานแก่เด็กๆและเยาวชนให้เรียนรู้วิชาการภาคฟัรดูอีนและใช้เป็นที่ละหมาดยะมาอะห์ร่วมกัน
ฐานะของพี่น้องมุสลิมที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านดังกล่าวนี้เป็นผู้มีรายได้น้อยที่ต้องรับภาระในครอบครัวพร้อมกับภาระการเช่าซื้อที่ดินผ่อนส่งเป็นรายเดือน
ทุกครอบครัวต้องต่อสู้กับปัญหาทาง เศรษฐกิจด้วยความสำนึกและห่วงใยต่อ สภาพของ
สังคมที่อยู่ร่วมกันกับศาสนิกอื่นอันจะส่งผลกระทบ
ถึงบุตรหลานของตนเองในอนาคต
จึงได้มีการปรึกษาหารือดำริเริ่มต้นร่วมกันบริจาคเสียสละทรัพย์ตั้งเป็นกองทุนทุกๆเดือนตามกำลังความสามารถที่จะบริจาคและสมัครใจ จนเวลาผ่านไป 6 – 7 เดือนเศษ
รวบรวมเงินเป็นกองทุนได้จำนวนหนึ่งจึงได้นำไปซื้อที่ดินผ่อนชำระส่งเป็นรายเดือนต่อจากบุคคลที่ขายให้
โดยมีคณะกรรมการริเริ่มร่วมลงชื่อเช่าซื้อที่ดินในสัญญาฯ
(นายอำมาตย์ ละใบยูโซ๊ะ ,
นายพล มหัตถนพร , นายนิแม บินแวอารง , นายสมัคร มาลาฤทธิพร , นายสมัย สะมะแอ)
เป็นผู้เช่าซื้อ นายสุข จันโต
เป็นพยานผู้โอนกรรมสิทธิ์
และนายสุนทร เปรมฤทัย เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ได้ตกลงเช่าซื้อที่ดิน จำนวน 3
แปลง (แปลงละ 28 ตารางวา จำนวน 2
แปลง และ 32 ตารางวาอีก
1 แปลง) รวมเป็น
88 ตารางวา
ในราคาเงินดาวน์ที่บุคคลขายต่อให้เป็นเงิน 12,000
บาทเศษ และผ่อนชำระรายเดือนๆละ 950
บาทเศษ ต่อไปอีกเป็นเวลา
122 เดือน
จนครบยอดเงินผ่อนชำระตามสัญญาเช่าซื้อทั้งสิ้น
115,200 บาท
และเมื่อได้มีสิทธิในที่ดินเช่าซื้อดังกล่าวแล้วจึงได้รณรงค์หาทุนร่วมกันดำเนินการที่จะปลูกสร้าง อัลฮัมดุลิ้ลลาห์ ก็ได้รับการวากั๊ฟบ้านทรงไทยหนึ่งหลังจาก ฮัจยีอาดัม
และฮัจยะห์ไมมูเนาะห์
หวังต่ำ
ให้มาปลูกสร้างเป็นบาแลขนาด 6
*12 เมตร เมื่อวันที่ 3
เมษายน 2520 เป็นต้นมา ในปี พ.ศ.
2525
ได้มีการจัดงานการกุศลหาทุนเพื่อนำมาชำระค่าที่ดินเช่าซื้อจนครบตามสัญญาและได้ที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของส่วนกลางจำนวน 2
แปลงๆละ 28 ตารางวา รวม
56 ตารางวา
และต่อมาได้มีบรรดาพี่น้องมุสลิมเขตชั้นในอพยพย้ายมาปลูกบ้านอยู่อาศัยในบริเวณหมู่บ้านนี้และหมู่บ้านใกล้เคียงเพิ่มมากขึ้น
ประมาณ 30 กว่าครอบครัว มีสมาชิกสัปปุรุษ 200
กว่าคน จึงได้ดำเนินการขออนุญาตจดทะเบียนบาแลและที่ดินดังกล่าวเป็น “ ศาสน-สมบัตินิติบุคคล อัล – เอาว์ก๊อฟ ” เมื่อวันที่ 10
กุมภาพันธ์ 2525 และ
วันที่ 16 สิงหาคม
2526 เป็นมัสยิดอัล – เอาว์ก๊อฟ
และโรงเรียน ตามลำดับอันเป็นศาสนสมบัติที่ได้มาจากการบริจาคและอุทิศให้มาทั้งสิ้นและต่อมาในปี
พ.ศ.2528
ได้จัดงานการกุศลหาทุนนำมาชำระค่าที่ดินเช่าซื้อเพิ่มเติมจนครบตามจำนวนสัญญาอีก 1
แปลง เนื้อที่ 32
ตารางวา รวมเป็น 3
แปลง เนื้อที่ทั้งหมด 88
ตารางวา
และได้จดทะเบียนที่ดินนี้เป็นที่ปลูกสร้างโรงเรียน อัล –เอาว์ก๊อฟ โดยมัสยิด อัล –
เอาว์ก๊อฟ
เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่
2 ตุลาคม 2528
หลังจากได้ที่ดินรวม 3 แปลง
เนื้อที่ 88
ตารางวาเป็นกรรมสิทธิ์นิติบุคคลเป็นทรัพย์สมบัติของโรงเรียนและมัสยิดอัล
– เอาว์ก๊อฟ แล้ว ได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อดำริที่จะหาทุนก่อสร้างต่อเติมอาคารไม้บาแลเดิมซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าวให้เป็นอาคาร 2
ชั้น ให้มีขนาดยาวและกว้างกว่าอาคารที่ใช้อยู่
เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของพี่น้องมุสลิมที่อยู่ภายในหมู่บ้านอย่างถาวรและมั่นคงต่อไป อัลฮัมดุลิ้ลลาห์ ด้วยเนี๊ยะอ์มัตแห่งพระองค์อัลเลาะห์
ซ.บ. ฮัจยีมูฮำหมัด ฮัจยะห์ฮาวอ วารีศรี และทายาทได้วากั๊ฟที่ดินจำนวน 2 งาน
(200 ตารางวา)
ให้เพื่อเป็นที่ปลูกสร้างมัสยิดอัล
– เอาว์ก๊อฟ
ถาวรหลังใหม่แทนที่จะทำการบูรณะต่อเติมบาแลหลังเก่า
และผู้วากั๊ฟได้ทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินพร้อมมอบโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นนิติบุคคลชื่อของมัสยิด อัล – เอาว์ก๊อฟ เมื่อวันที่
2 เมษายน 2528
จากนั้นคณะกรรมการและสัปปุรุษได้ร่วมกันหาทุนขอรับบริจาคเงินเพื่อนำมาซื้อดินถมปรับปรุงพื้นที่ครั้งละหนึ่งหรือสองคันรถแบบมดปลวกก่อสร้างรังตามกำลังทุนทรัพย์ที่ได้รับบริจาค
ในขณะเดียวกันก็ได้ทำการกำหนดรูปแบบแปลนลักษณะอาคารจำลองที่จะก่อสร้างในที่ดินวากั๊ฟดังกล่าวด้วย
และเมื่อได้ทำการถมและปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้วคณะกรรมการและสัปปุรุษก็มิได้หยุดยั้ง ยังดำเนินการร่วมกันหาทุนขอรับบริจาคทุนทรัพย์
และวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างจากบรรดาพี่น้องมุสลิมผู้มีจิตศรัทธาอย่างกว้างขวางเพื่อจะได้นำมาดำเนินการก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีต
2 ชั้น ขนาดกว้างยาว 12 * 24 เมตร
ตามแบบแปลนที่กำหนดไว้ |
1. นายนิแม บินแวอารง |
ปัจจุบัน |
1. นายมานัส อาจหาญ |
ปัจจุบัน |
1. นายยูซบ จันโต |
ปัจจุบัน |
1. นายชุติเดช บินแวอารง | 7. นายอุมัร จันโต |
2. ร.ต.อ.อารี ขันธสิทธิ์ | 8. นายวสุ สุขุมาภัย |
3. นางสาวนวรัตน์ ละใบยูโซ๊ะ | 9. นายพีระวัฒน์ ทองคำพันธุ์ |
4. นายจรัส ประภาสถิต | 10. นายภาศุระ โชติกวิบูลย์ |
5. จ.ส.ต.สฤทธิ์ มณี | 11. นางสาวนวสรณ์ ละใบยุนพสิริ |
6. นายสุรชัย สุรงค์เลิศ | 12. นางนาตยา ธิมาชัย |
1.
นายวีนัส จันโต |
7.
นายจรัส ประภาสถิต |
2.
นายสมศักดิ์ อนูปกิจ |
8.
นายพีระวัฒน์ ทองคำพันธุ์ |
3.
นายชุติเดช บินแวอารง |
9.
นายอดิเรก ปู่มี |
4.
นายอารี พิทักษ์คุมพล |
10.
นางลัดดา เกตุมะ |
5.
นายมารุต คงสุวรรณ์ |
11.
นางมาเรียม มณี |
6.
นายวีระศักดิ์ โซ๊ะพิทักษ์ |
12.
นางสาวนวสรณ์ ละใบยุนพสิริ |
1. นายอุสมาน กีมาและ |
7. นางสุภาพร ขันธสิทธิ์ |
2. นายสุรชัย สุรงค์เลิศ |
|
3. ส.ต.ท.วิษณุ เมฆขลา |
|
4. นายสมศักดิ์ อนูปกิจ | |
5. นายวีนัส จันโต |
|
6. นายมารุต คงสุวรรณ์ |
|
รายละเอียดอื่นๆ
คณะกรรมการอิสลามประจำ มัสยิดอัล-เอาว์ก๊อฟ (กม.8)
วาระการดำรงตำแหน่ง
ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดอัล-เอาว์ก๊อฟ (กม.8)
ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 122 ครอบครัว จำนวน 453 คน ประกอบด้วย
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ | |
- เพศชาย | 222 คน |
- เพศหญิง | 231 คน |
- รวม | 453 คน |
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี | |
- เพศชาย | 15 คน |
- เพศหญิง | 13 คน |
- รวม | 28 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 207 คน |
- เพศหญิง | 218 คน |
- รวม | 425 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี | |
- เพศชาย | 166 คน |
- เพศหญิง | 160 คน |
- รวม | 326 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 41 คน |
- เพศหญิง | 58 คน |
- รวม | 99 คน |