วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 19:32 น.

มัสยิดมูลนิธิอนุสรณ์กอดีรีย์

มัสยิดมูลนิธิอนุสรณ์กอดีรีย์

ทะเบียนเลขที่ - วันที่จดทะเบียน -
บ้านเลขที่ 28 หมู่ที่ 7
หมู่บ้าน/ชุมชน - ซอย -
ถนน สังฆสันติสุข แขวง กระทุ่มราย
เขต หนองจอก จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ 10530 เขตรับผิดชอบ มัสยิดที่ไม่ได้จดทะเบียน


     
    - ไม่มีข่าวและกิจกรรม -


ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดมูลนิธิอนุสรณ์กอดีรีย์


ประวัติความเป็นมา มัสยิดรีอายะตุ้ลกอดีรี

และ

 

               ประวัติมูลนิธิอนุสรณ์ตระกูลกอดีรีภูมิหลัง

ย้อนหลังไปประมาณ 90 ปีเศษ นับแต่ ปี พ.ศ.2456 ก่อนจะเป็น อนุสรณ์ตระกูลกอดีรี”   

ต้องระลึกถึงบรรพบุรุษของเรา คือ ต่วนฮัจยีหวัง กอดีรี หรือครูหวัง กอดีรี ซึ่งเป็นผู้จุดประกายก่อกำเนิด อนุสรณ์ตระกูลกอดีรีขึ้น  ครูหวังได้ร่วมกับที่น้องมุสลิมจำนวนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการสร้าง บาแลเพื่อเป็นสถานที่ละหมาดญะมาอะห์ และเป็นที่สอนศาสนามีความยาว 8 เมตร กว้าง 6 เมตร หลังคามุงจาก  โดยมีคณะผู้บริหารชุดแรก  ได้แก่  1. ต่วนฮัจยีหวัง  กอดีรี  2. โต๊ะเยาะห์เด็ง  นิซู  3. โต๊ะหมอนิล  มูเราะห์  

4. โต๊ะกีมะห์  ขำกา  5. แชเล็ก  วังหิตัง  6. โต๊ะกีเลาะห์  7. ผู้ใหญ่เก็บ  ขำทอง  8. นายแอ  มาสะและ และ

9. นายหมัด  มหิศวร        ท่านเหล่านั้นได้สละกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์จัดสร้างโรงเรียนสอนศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรก  ด้วยความห่วงใยแก่บรรดาบุตรหลานและพี่น้องมุสลิมเราเป็นสำคัญ

                ต่อมาเมื่อผู้บริหารชุดแรกได้สิ้นสุดลง  คณะผู้บริหารชุดที่ 2 เข้ารับหน้าที่ในการบริหารต่อโดยคณะผู้บริหารชุดนี้    มีดังนี้     1.โต๊ะเยาะห์เด็ง นิซู       2. ผู้ใหญ่เก็บ  ขำทอง       3. นายหมัด  มหิศวร  

4. นายสุไลมาน สมานเพ็ชร     5. ต่วนฮัจยีฮารูณ ศรีมาลา      6. นายหวังเซ็ม วังหิตัง       7. ฮัจยีอับดุลมุดตอเล็บ   กอดีรี      8. นายแอ มาสะและ        9. ครูหมัด พงษ์ธีรวัฒน์        10. นายจำรัส มูเราะห์

 11. ผู้ใหญ่ประกอบ     ขำทอง   และ    12. คุณครูมูเราะห์ ขำกา  และคุณครูมูเราะห์  ขำกา เป็นครูผู้อบรมและทำการสอนในด้านวิชาการศาสนาด้วย

                ในปี พ.ศ.2498 โต๊ะปุก  นิซู ได้วะกัฟที่ดิน จำนวน 2 ไร่เศษ  ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินแปลงที่สร้าง

บาแล  เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ในกิจกรรมศาสนาอิสลาม  คณะผู้บริหารดังกล่าวจึงได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือกันและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ย้ายบาแลไปก่อสร้างบนที่ดินของโต๊ะปุก  นิซู  เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้วะกัฟ  ซึ่งในการย้ายครั้งนั้นได้รับความร่วมมือจากปวงสัปบุรุษที่ช่วยกันรื้อถอนและปลูกสร้างจนแล้วเสร็จในปีนั้นเอง  และโต๊ะเยาะห์เด็ง  นิซู ซึ่งเป็นสามีของโต๊ะปุก  นิซู ได้วะกัฟที่ดินให้อีกจำนวน 2 แปลง เนื้อที่รวม 49 ไร่เศษให้กับมัสยิดอีกด้วย

                    ต่อจากนั้นอีกประมาณ 2 ปีเศษ คณะผู้บริหารชุดที่ 2 นี้ ได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะสร้างมัสยิดต่อไป ซึ่งในที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาอยู่นานพอสมควร จึงได้ลงมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรให้สร้างมัสยิดขึ้น  โดยการดำเนินการก่อสร้างอาคารมัสยิดครั้งนี้มีปัญหาอุปสรรคพอสมควร  เนื่องจากงบประมาณการก่อสร้างมีไม่เพียงพอ แม้จะได้รับความร่วมมือจากปวงสัปบุรุษบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับงบประมาณการก่อสร้าง  ดังนั้น คุณครู   มูเราะห์  ขำกา ฝ่ายวิชาการด้านศาสนา ได้ออกไปพบปะพี่น้องมุสลิมในท้องถิ่นต่างๆ เพื่อบอกบุญแก่ผู้มีจิตศรัทธาประสงค์สมทบทุนในการก่อสร้างมัสยิดให้แล้วเสร็จ และพร้อมกันนั้นก็ได้รับความอนุเคราะห์จากโต๊ะเยาะห์ฮีม  อับดุล-สลาม  โต๊ะยีมะห์ คลอง 14  และฮัจยีอับดุลเลาะห์  พงษ์พิบูล  กับฮัจยะห์เหรี่ยม  พงษ์พิบูล  (สกุลเดิมกอดีรี) ชาวบางลำภู  ได้ร่วมกันบริจาคเงินเป็นจำนวนมาก  จึงทำให้การดำเนินงานการก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือและเสียสละกำลังกายจากปวงสัปบุรุษของมัสยิดเป็นอย่างดียิ่งในการก่อสร้างอาคารมัสยิดโดยมิได้เสียค่าแรงงานการก่อสร้างแต่อย่างใด  และยิ่งไปกว่านั้นชาวบ้านอีกจำนวนไม่น้อยรับบริการจัดเลี้ยงอาหารวันละสองเวลาโดยสลับกันไป  การกระทำดังกล่าวเป็นความปราบปลื้มใจเป็นอย่างมากที่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีตลอดมา

                   เมื่อสร้างมัสยิดแล้วเสร็จ  มีผู้มีจิตรศรัทธาร่วมกันบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ  เช่น  เรือหาง (เรือเครื่องวางท้าย) 1 ลำ  ถาดตับซี  และถ้วยจานกระเบื้องอีกจำนวนมาก  เพื่อใช้ในงานบุญต่างๆ  

รวมทั้ง สร้างเขื่อนคอนกรีตตลอดแนวที่ดินวะกัฟด้านคลองเนื่องเขตอีกด้วย  หลังจากนั้นอีกไม่นาน คณะผู้บริหารได้ดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนมัสยิด  แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา………

 

การก่อตั้งมูลนิธิและโรงเรียนอนุสรณ์กอดีรี

                   ในปี พ.ศ.2507 ได้ยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามกับระทรวงศึกษาธิการ  

โดยมีนางปุก  นิซู เป็นผู้รับใบอนุญาต  และมีครูมูเราะห์ ขำกา เป็นครูใหญ่  ใช้ชื่อว่า โรงเรียนอนุสรณ์กอดีรีและต่อมาได้โอนโรงเรียนฯ มาเป็นของมูลนิธิอนุสรณ์ตระกูลกอดีรีจนถึงปัจจุบัน

                    ในปี พ.ศ.2513 คณะผู้บริหารโรงเรียนและมัสยิด ได้ประชุมปรึกษาหารือกันในเรื่องทรัพย์สินที่มีผู้วะกัฟไว้  ซึ่งยังไม่มีองค์กรที่เหมาะสมรองรับ  และเพื่อเป็นการรักษาทรัพย์สินวะกัฟให้คงอยู่ตลอดไป  ที่ประชุมคณะผู้บริหารจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดตั้งมูลนิธิขึ้น โดยมอบหมายให้คุณครูมูเราะห์  ขำกา เป็นผู้ดำเนินการ  พร้อมกันนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฮัจยีมนตรี เป็นที่ปรึกษาและดำเนินการขอจดทะเบียนมูลนิธิจนแล้วเสร็จ  โดยใช้ชื่อมูลนิธิว่า มูลนิธิอนุสรณ์ตระกูลกอดีรี

                     การบริหารจัดการมัสยิดและโรงเรียนขึ้นตรงกับคณะกรรมการมูลนิธิอนุสรณ์ตระกูลกอดีรี โดยมีคุณครูมูเราะห์  ขำกา  เป็นประธานมูลนิธิ และครูสอนอัลกุรอ่านและฟัรดูอีน แก่เยาวชน ตลอดจนการอบรมศาสนานักศึกษาผู้ใหญ่อีกด้วย

                    ในปี พ.ศ.2530 คุณครูมูเราะห์  ขำกา ได้กลับไปสู่ความเมตตาของอัลเลาะห์ (ซบ.) (ถึงแก่กรรม)  ครูอัดนาน  วังหิตัง ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนอัลกุรอ่านและฟัรดูอีน และทำหน้าที่อิหม่าม

ส่วนครูฮากีม  ขำกา ทำหน้าที่สอนอัลกุรอ่านและฟัรดูอีน พร้อมทั้งทำหน้าที่คอเต็บประจำมัสยิด

                  

                    สำหรับประธานมูลนิธิ นายจำนงค์  ขำทอง ทำหน้าที่แทน โดยมีนายสมัย อาบีดีน เป็นรองประธานฯ พร้อมกับกรรมการ คือ นายฟา นุดมะหมัด เป็นกรรมการ นายอี สมานเพชร  เป็นกรรมการ นายสมัย วังหิตัง เป็นกรรมการ  นายหวัง สมานเพชร  เป็นกรรมการ นายการีม ไกรเพชร เป็นกรรมการ นายชุมพล มาสะและ เป็นกรรมการ นายสว่าง นุชมะหะหมัด  เป็นกรรมการ นายประกอบ ขำทอง เป็นกรรมการและเหรัญญิก นายทวีศักดิ์  ขำทอง  เป็นกรรมการและเลาขานุการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2531  คณะกรรมการมูลนิธิฯ ชุดดังกล่าวนี้ ซึ่งมีประธานและรองประธานคนเดียวกัน (ส่วนกรรมการบางท่านมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม)ได้บริหารงานมาโดยตลอด จนถึงวันที่ 16 มีนาคม 2563

                    ปัจจุบัน ได้แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิฯ ชุดใหม่ ประกอบด้วย 1. นายสุเทพ ขำทอง ประธานกรรมการ 2. นายสมัคชัย ขำทอง รองประธานกรรมการ 3. นายสุเทพ เอื้อเฟื้อ รองประธานกรรมการ 4. นายสว่าง นุชมะหะหมัด กรรมการ 5. นายสุเทพ สรกล กรรมการ 6. นายสมาน วังหิตัง กรรมการ 7. นายสมมาต นิกาจิ๊ กรรมการ 8. นายสมศักดิ์ นุดมะหมัด กรรมการ 9. นายจำนง ขำทอง  กรรมการและนายทะเบียน 10. นายอันว๊าส ซอเฮง  กรรมการและเหรัญญิก 11. นายสมหมาย อาบีดีน กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก 12.  นายสุรัตน์  อาบีดีน กรรมการและเลขานุการ 13. นายภาณุพงศ์  ขำทอง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ จากนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร

                   ในปี พ.ศ.2532 คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้รื้ออาคารมัสยิดหลังเก่าและก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นมัสยิดหลังใหม่แทน เนื่องจากอาคารหลังเก่าเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูงทรุดโทรมมาก ประกอบกับมีสัปบุรุษเพิ่มขึ้นมากด้วย และมัสยิดหลังใหม่นี้เอง ได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบอิบาดะห์กันจนถึงปัจจุบัน  ส่วนงบประมาณการก่อสร้างได้รับความอนุเคราะห์จากฮัจยีอับดุลเลาะห์ (สมัย)  พงษ์พิบูล และฮัจยะห์เรี่ยม  พงษ์พิบูล (สกุลเดิมกอดีรี)

                   ในปี พ.ศ.2538 ได้สร้างอาคารเอนกประสงค์อีกจำนวน 1 อาคาร  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น เพื่อใช้เป็นอาคารเรียน ห้องประชุม สัมมนา สำนักงานมูลนิธิฯ และกิจกรรมในด้านศาสนา งบประมาณการก่อสร้างได้รับความอนุเคราะห์จากนาวาโทสมศักดิ์ (ฮัจยีอิบรอฮีม) พงษ์พิบูล ซึ่งเป็นน้องชาย ฮัจยีอับดุลเลาะห์ (สมัย)  พงษ์พิบูล ผู้สนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารมัสยิด

 

****************





 
- ไม่มีข้อมูลคณะกรรมการมัสยิด -


ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดมูลนิธิอนุสรณ์กอดีรีย์


ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 275 ครอบครัว  จำนวน 799 คน  ประกอบด้วย

  
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ
 - เพศชาย 401 คน
 - เพศหญิง 398 คน
 - รวม 799 คน
  
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี
 - เพศชาย 15 คน
 - เพศหญิง 18 คน
 - รวม 33 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 386 คน
 - เพศหญิง 380 คน
 - รวม 766 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี
 - เพศชาย 323 คน
 - เพศหญิง 313 คน
 - รวม 636 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 63 คน
 - เพศหญิง 67 คน
 - รวม 130 คน

ข้อมูลติดต่อ มัสยิดมูลนิธิอนุสรณ์กอดีรีย์


โทรศัพท์ 02-988-3834
โทรสาร -
มือถือ 096-637-8086
อีเมล -
เว็บไซต์ -
Facebook -
Twitter -
Youtube -

รูปภาพ มัสยิดมูลนิธิอนุสรณ์กอดีรีย์

แผนที่ มัสยิดมูลนิธิอนุสรณ์กอดีรีย์

Scroll To Top