วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 08:36 น.

มัสยิดอัลอะติ๊ก  (สุเหร่าเก่า)

มัสยิดอัลอะติ๊ก  (สุเหร่าเก่า)

ทะเบียนเลขที่ 77 วันที่จดทะเบียน 1 มกราคม 2513
บ้านเลขที่ 454 หมู่ที่ -
หมู่บ้าน/ชุมชน สวนหลวง1 ซอย เจริญกรุง103
ถนน เจริญกรุง แขวง วัดพระยาไกร
เขต บางคอแหลม จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ 10120 เขตรับผิดชอบ มัสยิดเขต 1

ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดอัลอะติ๊ก  (สุเหร่าเก่า)


มัสยิดอัลอะติ๊ก

 

ที่ตั้ง 

เลขที่  454 ถนนเจริญกรุง แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร 10120

เลขหมายทะเบียน

77

วัน/เดือน/ปี ที่รับจดทะเบียน

27   พฤศจิกายน   2493

ผู้ขอจดทะเบียน

1.นายหะยีมูฮำหมัดสอิด  บินหะยีอับดุลกอเดร็ต

ตำแหน่งอิหม่าม

2.นายหะยีซัน   บินหะยีอัดุลตาเล็บ

ตำแหน่งคอเต็บ

3.นายพิสิษฐ์   พานิชนก

ตำแหน่งบิหลั่น

 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมามัสยิดอัล-อะตี๊ก

                   มัสยิดอัล-อะตี๊ก ก่อตั้งขึ้นราวปี พ.ศ. 2352 เดิมชื่อ “สุเหร่าสวนหลวง” แต่ด้วยการที่เป็นมัสยิดแห่งแรกที่ก่อตั้งขึ้น จึงมีการเปลี่ยนแปลง ชื่อ ตามความเห็นของพี่น้องมุสลิมในช่วงนั้นเป็น “สุเหร่าเก่าสวนหลวง”

                  เมื่อปี พ.ศ.2328 ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงได้โปรดเกล้าให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลยกทัพไปปราบพม่าทางใต้และเลยไปตีเมืองปัตตานี และได้ต้อนผู้คนจากปัตตานีซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิมจำนวน 4,000 คน มากรุงเทพฯ โดยมอบหมายให้นายกองคุมปัตตานีในเวลานั้นคือ “ตวนกูมะหมูด” ชาวไทรบุรีผู้ใต้บังคับบัญชาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ หรือที่บรรพบุรุษของอัล-อะตี๊กรู้จักในนาม “ดาโต๊ะสมเด็จ” ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการในสมัยนั้น

                  ในจำนวนชาวมุสลิม 4,000 คนที่ถูกต้อนมานั้นได้กระจายกันไปอยู่ตามที่ต่างๆตามที่ดาโต๊ะสมเด็จท่านกำหนดให้ คือถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์ขุนนางจะนำไปพักอาศัยที่สี่แยกบ้านแขก ส่วนชาวบ้านทั่วไปจะนำไปพักอาศัยที่ถนนตกถึงบ้านอู่ (บางรักปัจจุบัน) ประตูน้ำ (คลองแสนแสบ) ปากลัด และหัวเมืองโดยรอบกรุงเทพฯ ส่วนชาวมุสลิมจากปัตตานีส่วนหนึ่งได้ถูกกวาดต้อนให้มาอยู่ที่ตำบลสวนหลวง (ซอยเจริญกรุง 103 ปัจจุบัน) การเป็นอยู่ของชาวมุสลิมมักจะรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มและต้องมีการปฏิบัติศาสนากิจคือการทำนมาซ ท่านดาโต๊ะสมเด็จในเวลานั้นคือ ทัต บุญนาค ผู้สำเร็จราชการพระนครกรุงเทพฯจึงได้ประทานที่ดินตำบลสวนหลวงให้ชาวมุสลิมปัตตานี ตั้งรกรากกันอยู่อาศัยเป็นการถาวรที่ตำบลนี้เอง “สุเหร่าสวนหลวง” จึงได้ถูกสร้างขึ้นเป็นเรือนไม้หลังแรกในย่านถนนตก ในราวปี พ.ศ.2352 โดยมีตวนกูมะหมูดแห่งไทรบุรีดำรงตำแหน่งอิหม่ามคนแรก และสุเหร่าหลังอื่นๆจึงได้มีการสร้างขึ้นตามกันมาตามกาลเวลา ทำให้สุเหร่าสวนหลวงถูกเติมคำว่า “เก่า” ตามความหมายของบรรพบุรุษสวนหลวง ชื่อจึงกลายเป็น “สุเหร่าเก่าสวนหลวง” และเรียกติดปากกันตลอดว่า “สุเหร่าเก่า”

                  การปกครองดูแลสมัยนั้นนอกจากดาโต๊ะสมเด็จแล้วยังมีเจ้านายผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปกครองดูแลชาวมุสลิมปัตตานีถูกจำกัดบริเวณแวะเวียนมาดูแลตลอดคือเจ้าพระยาสุรวงศ์ชัยวัฒน์ (เจ้าคุณทหาร) เจ้าจอมมารดาโหมด เจ้าจอมมารดาแพ และท้ายสุดกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เป็นเจ้านายองค์สุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับชาวอัล-อะติ๊ก จวบจนประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ความสัมพันธ์ของเจ้าขุนมูลนายกับชาวสวนหลวงจึงได้สิ้สุดลงในปี พ.ศ. 2475

                 ต่อมาในวันที่ 2 กันยายน 2495 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่ออีกครั้งจาก “สุเหร่าเก่าสวนหลวง” เป็น “มัสยิดอัล-อะตี๊ก” เนื่องจากมีระเบียบบังคับให้ขึ้นทะเบียนเป็นมัสยิดตามพระราชบัญญัติกรมการศาสนา โดยผู้ก่อตั้งชื่ออย่างเป็นทางการและใช้มาจวบจนปัจจุบันคือ ครูอะหมัด วาฮาบ หรือ เช็คอะหมัด วาฮาบ มะนังกะเบา ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการเคารพนับถือจากชาวอัล-อะตี๊กนั่นเอง                        

ผู้บริหารมัสยิดอดีต-ปัจจุบัน
ตำแหน่งอิหม่าม

1. นายหะยีมูฮำหมัดสอิด  บินหะยีอับดุลกอเดร็ต

พ.ศ     .2492

2. นายวิวัฒน์      ภักดีธรรม

พ.ศ.     เดิม – 23 พฤษภาคม 2535

3. นายวัลลภ      กลับเกษม

พ.ศ.     2535 – 7 ตุลาคม  2545

4. นายสันติ       จิตต์สอาด

พ.ศ.    2547

5. นายประพัฒน์  วรกาญจน์

ปัจจุบัน

ตำแหน่งคอเต็บ

1. นายหะยีซัน   บินหะยีอัดุลตาเล็บ

พ.ศ.      2492

2. นายวัลลภ      กลับเกษม

พ.ศ.      เดิม - 2535

3. นายมูริด     ทิมะเสน

พ.ศ.      2540 – ปัจจุบัน

ตำแหน่งบิหลั่น

1. นายพิสิษฐ์   พานิชนก

พ.ศ.      2492 - 2541

2. นาสุรธี       แอสุวรรณ

พ.ศ.      2545

3. นายวิสิทธิ์     วรกาญจน์

พ.ศ.      2549 – ปัจจุบัน

ตำแหน่งกรรมการ พ.ศ.2557

1. นายทวี  สว่างตระกูล

7. นายไชยยันต์  เครือปอง

2. นายกิตติรัตน์  ฮีมหมั่นงาน

8. นายสันธาน  ธรรมไมตรี

3. นายสมมาตร์  มุขตารี

9. นายอนุวัตน์  สมานแก้ว

4. นายวินัย  อรุณนิธิ

10. นายปรีชา  ยีหะหมัด

5. นายชัชวลิต  วีระเสถียร

11. นายนที  บุญประสิทธิ์

6. นายจินดา  ทิมะเสน

 

ตำแหน่งกรรมการ พ.ศ.2549

1. นายสมมาตร์      มุขตารี

7. นายสุเทพ     วิทยสุจินต์

2. นายประพัฒน์     วรกาญจน์

8. นายชัชวลิต    วีระเสถียร

3. นายวินัย     อรุณนิธิ

9. นายวีระพล     กลับเกษม

4. นายสุนทร       หวังศุภผล

10. นายนที        บุญประสิทธิ์

5. นายอารีย์        หวังศุภผล

11. นายจินดา      ทีมะเสน

6. นายพิจารณ์      กีรติวุฒ

12. นายวรวัฒน์      แสงน้อยอ่อน

ตำแหน่งกรรมการ พ.ศ.2545

1. นายจินดา      ทิมะเสน

7. นายฤทธิพร    ตอลีบี

2. นายประวัติ     วรกาญจน์

8. นายปิยะ      แสงน้อยอ่อน

3. นายธานินทร์     ชุมนุนพันธ์

9. นายวินัย       ผดุงคำ

4. นายวินัย     อรุณนิธิ

10. นายประทีป      แรงรักธรรม

5. นายวิโรจน์       สว่างตระกูล

11. นายสุรศักดิ์       สุรัตนมาลย์

6. นายสันติ     จิตต์สอาด

12. พันโทชาญ        วรประวัติ

 ตำแหน่งกรรมการ พ.ศ.2561- 65


  1. นายวินัย ผดุงคำ

  2. นายสุชาติ บุญมี                

  3. นายสุทธฺศักดิ์ สุรัตนมาลย์

  4. นายบรรจง สระพงษ์

  5. นายธีรพล ตอลีบี

  6. นายสุธี ม่วงดี

  7. นายพีรพัฒน์ ตอลีบี

  8. นายชัชวลิต วีระเสถียร

  9. นายสุดี ตอลีบี

  10. สุรชาติ ตอลีบี

  11. นายประวัติ วรกาญจน์

  12. นายพัฒนพงศ์ เฉลิมไทย












คณะกรรมการอิสลามประจำ มัสยิดอัลอะติ๊ก  (สุเหร่าเก่า)


วาระการดำรงตำแหน่ง 

อิหม่าม
ประธานกรรมการ
ฝ่ายบริหาร
คอเต็บ
รองประธานกรรมการ
ฝ่ายวิชาการ
บิหลั่น
รองประธานกรรมการ
ฝ่ายบริหาร

ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดอัลอะติ๊ก  (สุเหร่าเก่า)


ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 487 ครอบครัว  จำนวน 1,853 คน  ประกอบด้วย

  
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ
 - เพศชาย 851 คน
 - เพศหญิง 1,002 คน
 - รวม 1,853 คน
  
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี
 - เพศชาย 59 คน
 - เพศหญิง 49 คน
 - รวม 108 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 792 คน
 - เพศหญิง 953 คน
 - รวม 1,745 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี
 - เพศชาย 570 คน
 - เพศหญิง 621 คน
 - รวม 1,191 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 222 คน
 - เพศหญิง 332 คน
 - รวม 554 คน

ข้อมูลติดต่อ มัสยิดอัลอะติ๊ก  (สุเหร่าเก่า)


โทรศัพท์ 0-2291-8605
โทรสาร -
มือถือ 08-5167-8323
อีเมล alatiq.masjid@hotmail.com
เว็บไซต์ www.al-atiq.com
Facebook https://www.facebook.com/alatiq.masjid
Twitter -
Youtube https://www.youtube.com/channel/UC-sY68UEIiDvzuwntcm-IVg

รูปภาพ มัสยิดอัลอะติ๊ก  (สุเหร่าเก่า)

แผนที่ มัสยิดอัลอะติ๊ก  (สุเหร่าเก่า)

Scroll To Top