วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2567 00:23 น.
จากดินแดนเปอร์เซียสู่อ้อมกอดชาวสยาม เส้นทางแห่งอารยธรรม 2 แผ่นดิน

จากดินแดนเปอร์เซียสู่อ้อมกอดชาวสยาม เส้นทางแห่งอารยธรรม 2 แผ่นดิน

จากดินแดนเปอร์เซียสู่อ้อมกอดชาวสยาม เส้นทางแห่งอารยธรรม 2 แผ่นดิน

นับจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 400 กว่าปีแล้ว ที่เรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างสองประชาชาติที่เป็นต้นกำเนิด ของอารยธรรม วัฒนธรรมประเพณีอันเก่าแก่ล้ำค่าที่ร้อยเรียงเรื่องราวแห่งมิตรภาพ ความจงรักภักดี ความรัก ความซื่อสัตย์ ที่มี ต่อกันไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสานต่อ ซึ่งความสัมพันธ์นี้ได้สร้างความแข็งแกร่งความเป็นปึกแผ่นให้กับแผ่นดินเกิดของ พวกเขาและยังเป็นตัวประสานให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องความเชื่อทางศาสนาที่มีความคล้ายคลึงสอดคล้องกันของศาสนาอิสลามกับศาสนาพุทธ ทำให้เกิดความสามัคคีความเสมอภาคและอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข พึ่งพาอาศัยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดั่งเช่นพี่น้อง ดังนั้นความแตกต่างทางเชื้อชาติและความเชื่อทางศาสนาจึงไม่สามารถทำให้เกิดช่องว่างระหว่างความสัมพันธ์ อันแน่นแฟ้นของพวกเขาได้ สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงเครื่องกำหนดวิถีชีวิตของคนในชุมชนเพื่อที่จะดำเนินชีวิตให้ถูกต้องตามบัญญัติของศาสนาเท่านั้น นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกเรื่องราวของความสัมพันธ์ระหว่างชาวเปอร์เซียและชาวสยามไว้อย่างมากมาย หลากหลายมิติ เช่น มิติทางสังคม วัฒนธรรมประเพณี พิธีกรรม ฯลฯ มิติเชิงสัญลักษณ์นี้เองที่ทำให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของแต่ละชนชาติ แสดงออกถึงอารยธรรมอันเก่าแก่ที่สืบต่อกันมาจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง เสมือนหนังสือประวัติศาสตร์เล่มใหญ่ สำหรับการเรียนรู้ และได้เป็นแม่แบบในการดำเนินชีวิตโดยมีบรรพบุรุษ ชนรุ่นก่อนเป็นครู เราชนรุ่นหลังเป็นนักเรียน ผู้เรียนรู้ที่นำเอาประสบการณ์ของท่านเหล่านั้นมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการให้ความสำคัญอย่างมากต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของแต่ละชนชาติ เพื่อหาประวัติความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงกันในแต่ละด้าน ถึงแม้จะมีวิถีชีวิตอยู่บนความหลากหลาย แต่ก็ยังคงได้มีการอนุรักษ์อัตลักษณ์อันโดดเด่นของตนเองที่มีมาตั้งแต่อดีตนี้ให้คงอยู่ให้เห็นได้ในปัจจุบัน

ในประเทศไทย เมื่อพูดถึงชาวมุสลิมคนส่วนใหญ่มักนึกถึงชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งเป็น มุสลิมส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีมุสลิมอีกจำนวนมากที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ในส่วนของบรรพบุรุษของมุสลิมใน ประเทศไทยนั้นมีที่มาที่หลากหลาย เช่น มุสลิมจากอาหรับ มุสลิมจากเปอร์เซีย มุสลิมจากชวา มุสลิมจากจาม-เขมร มุสลิมจากเอเชียใต้(อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน) และมุสลิมจีนที่ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นต้นชาวมุสลิมมีความเชื่อ ความศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว คือพระอัลลอฮ์ มีท่านมูฮัมหมัด(ศ็อลฯ)เป็นพระศาสดาองค์สุดท้าย มีคัมภีร์อัลกุรอ่านเป็นพระบัญญัติสูงสุด นี่คือหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม และยังมีการแบ่งเป็นนิกายต่างๆ ซึ่งแต่ละนิกายก็จะมีหลักปฏิบัติเฉพาะของตนเอง แต่ทุกนิกายนั้นมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกัน ในสังคมไทยจะรู้จักนิกายซุนหนี่และนิกายชีอะห์ เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งสองนิกายนี้มีผู้ศรัทธาอยู่ทั่วโลก โดยจะยกตัวอย่างให้เห็นเด่นชัดก็คือ ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรมุสลิมนิกายซุนหนี่มากที่สุด และประเทศอิหร่านมีประชากรมุสลิมนิกายชีอะห์มากที่สุด นี่คือข้อมูลโดยรวมของบรรพบุรุษและนิกายหลักของศาสนาอิสลามที่มีในประเทศไทย ต่อจากนี้จะขอพูดถึงมุสลิมนิกายชีอะห์ในประเทศไทยว่ามีประวัติความเป็นอย่างไร มีลักษณะเด่น(อัตลักษณ์)อย่างไร โดยอ้างอิงจากเอกสารทางประวัติศาสตร์และข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ที่ถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น

Scroll To Top