วันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2568 03:29 น.

มัสยิดกุฎีหลวง  (กุฎีเจ้าเซ็น)

มัสยิดกุฎีหลวง  (กุฎีเจ้าเซ็น)

ทะเบียนเลขที่ ธ.4 วันที่จดทะเบียน 24 สิงหาคม 2492
บ้านเลขที่ 1000 หมู่ที่ -
หมู่บ้าน/ชุมชน - ซอย พรานนก 11
ถนน พรานนก แขวง บ้านช่างหล่อ
เขต บางกอกน้อย จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ 10700 เขตรับผิดชอบ มัสยิดเขต 6

ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดกุฎีหลวง  (กุฎีเจ้าเซ็น)


กุฎีหลวง หรือกุฎีเจ้าเซ็น : “กะดี” แรกของมุสลิมนิกายชีอะห์ในกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยรัตนโกสินทร์ราวปี พ.ศ. 2328 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) โปรดเกล้าฯ ให้ขุนป้องพลขันธ์ (ก้อนแก้ว) ขุนนางในกรุงธนบุรีที่สืบเชื้อสายแต่ออกญาบวรราชนายก(เฉกอหะหมัด) ชาวเปอร์เซียจากกรุงเก่าให้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่ง พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) พร้อมพระราชทานที่ดินให้ตั้งชุมชนและสร้างศาสนสถานของตนขึ้นเป็นครั้งแรกแล้ว  พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ได้จัดการเกี่ยวกับแบบแผนพิธีกรรมในศาสนาขึ้นอีกครั้งในเวลานั้น ชุมชนแขกเจ้าเซ็น หรือมุสลิมนิกายชีอะห์ เริ่มสร้างศาสนสถานของตนเป็นการถาวรขึ้นทางฝั่ง ตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) โดย พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ได้รับพระราชทานที่ดิน ตั้งอยู่ทางฝั่งธนบุรีในระยะแรกเริ่มของกรุงรัตนโกสินทร์ (หลังปี พ.ศ. 2325) และเป็นเวลาที่พระองค์ทรงเริ่มปฏิรูปบ้านเมืองอีกครั้งหลังจากกรุงธนบุรีสิ้นสุดลง โดยนำแบบแผนการปกครองของราชสำนักอยุธยากลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง 


การนั้นมีผลให้ข้าราชการขุนนางเดิมครั้งกรุงศรีอยุธยาส่วนหนึ่งมีโอกาสกลับเข้ารับใช้งานราชสำนักอีกครั้งหนึ่ง  รวมถึงพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ที่เคยรับราชการตั้งแต่ครั้งกรุงเก่าและสืบเนื่องงานต่อมาในกรุงธนบุรี  ได้รับความไว้วางพระทัยให้เข้ารับราชการต่อมาในฝ่ายงานพระคลัง ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี คุมการค้าฝ่ายกรมท่าขวา อันหมายถึงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย และเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้ชุมชน แขกเจ้าเซ็น หรือมุสลิมนิกายชีอะห์มีความเป็นปึกแผ่นมากขึ้นเป็นลำดับนับแต่ได้รับพระราชทานที่ดินให้สร้างศาสนสถานของตนในนาม กุฎีเจ้าเซ็น เป็นต้นมา 



รายละเอียดอื่นๆ


ความสัมพันธ์ที่ยาวนาน 400 กว่าปี ระหว่างแผ่นดินสยามและเปอร์เซีย เป็นที่มาของการผสมผสานของสองวัฒนธรรม ศิลปวิทยาการ รวมถึงผู้คนซึ่งหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยมาจนทุกวันนี้ โดยมีจุดเริ่มต้นจาก ท่านเฉกอะห์หมัด ผู้ซึ่งข้ามพรมแดนมาจากเปอร์เซียมายังแผ่นดินสยาม ผู้มีบทบาทสำคัญทางการค้าและทางราชการแผ่นดิน จนได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เป็นผู้นำประชาชนชาวมุสลิมทั้งหลาย และเป็นต้นตระกูลของหลายสกุลที่ยังสืบทอดมาจนทุกถึงปัจจุบัน เรื่องราวข้างต้นนี้เป็นเพียงเศษส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมุสลิมชีอะห์ในประเทศไทย ที่ซึ่งยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่ยังไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้ ดังเช่นในเรื่องของพิธีกรรมมะหะหร่ำ หรือ มุฮัรรอม ที่เป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ที่ท่านอิหม่ามฮูเซน  ครอบครัวของท่าน และผู้ติดตามการถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมโดยผู้นำที่อธรรมในสมัยนั้นที่เมืองกัรบะลา ประเทศอิรัก มุสลิมชีอะห์ได้จึงทำการจัดพิธีกรรมรำลึกนี้ขึ้นในเดือนมุฮัรรอมเป็นประจำทุกๆปี และนี่คือหนึ่งในอีกหลายสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของมุสลิมชีอะห์ ซึ่งก็ยังคงอนุรักษณ์ไว้และปฏิบัติสืบต่อกันมามิมีวันลืมเลือนหรือจากหายไปจากสังคมได้เลย





 
- ไม่มีข้อมูลคณะกรรมการมัสยิด -


ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดกุฎีหลวง  (กุฎีเจ้าเซ็น)


ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 135 ครอบครัว  จำนวน 393 คน  ประกอบด้วย

  
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ
 - เพศชาย 169 คน
 - เพศหญิง 224 คน
 - รวม 393 คน
  
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี
 - เพศชาย 15 คน
 - เพศหญิง 30 คน
 - รวม 45 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 154 คน
 - เพศหญิง 194 คน
 - รวม 348 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี
 - เพศชาย 120 คน
 - เพศหญิง 135 คน
 - รวม 255 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 34 คน
 - เพศหญิง 59 คน
 - รวม 93 คน

ข้อมูลติดต่อ มัสยิดกุฎีหลวง  (กุฎีเจ้าเซ็น)


โทรศัพท์ 02-418-2078
โทรสาร 02-866-0395
มือถือ 086-547-4661
อีเมล stine.imame@gmail.com
เว็บไซต์ -
Facebook https://www.facebook.com/MasjidKudeeluang
Twitter -
Youtube -

ข้อมูล สถานที่แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว มัสยิดกุฎีหลวง  (กุฎีเจ้าเซ็น)

รูปภาพ มัสยิดกุฎีหลวง  (กุฎีเจ้าเซ็น)

แผนที่ มัสยิดกุฎีหลวง  (กุฎีเจ้าเซ็น)

Scroll To Top