วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2567 23:41 น.

มัสยิดบ้านอู่

  • มัสยิดบ้านอู่

    มัสยิดบ้านอู่

    ระบบจัดการข้อมูลมัสยิด โดยสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร...

  • มัสยิดบ้านอู่

    มัสยิดบ้านอู่

    ระบบจัดการข้อมูลมัสยิด โดยสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร...

  • มัสยิดบ้านอู่

    มัสยิดบ้านอู่

    ระบบจัดการข้อมูลมัสยิด โดยสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร...

  • มัสยิดบ้านอู่

    มัสยิดบ้านอู่

    ระบบจัดการข้อมูลมัสยิด โดยสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร...

มัสยิดบ้านอู่

ทะเบียนเลขที่ 1 วันที่จดทะเบียน 29 กรกฎาคม 2491
บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ -
หมู่บ้าน/ชุมชน บ้านอู่ ซอย ซอยเจริญกรุง 46
ถนน ซอยเจริญกรุง แขวง บางรัก
เขต บางรัก จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ 10500 เขตรับผิดชอบ มัสยิดเขต 1


     
    - ไม่มีข่าวและกิจกรรม -


ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดบ้านอู่


มัสยิดบ้านอู่


ที่ตั้ง

เลขที่ 63 ซอยเจริญกรุง 46 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

เลขหมายทะเบียน

1

วัน/เดือน/ปี ที่รับจดทะเบียน

29  พฤศจิกายน  2491

ผู้ขอจดทะเบียน

นายหะยีอับดุลฮามิด  ศรีทองคำ

ตำแหน่งอิหม่าม

หะยีสเลมัน  วีรชายา

ตำแหน่งคอเต็บ

นายสอิ๊ด  การุณยวิบูลย์

ตำแหน่งบิหลั่น

·       ประวัติความเป็นมา

จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ที่เล่าขานต่อ ๆ กันมา กล่าวกันว่าในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้อพยพชาวมุสลิมจากจังหวัดปัตตานีจำนวนหนึ่งเข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือบางกอกในสมัยนั้น รวมทั้งกระจายไปตามต่างจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ อยุธยา ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี

ชุมชนมุสลิมบ้านอู่ ได้ก่อเกิดมาตั้งแต่สมัยนั้นเช่นกัน โดยผู้คนทั่วไปเรียนขานกันว่า สุเหร่าแขก ตามข้อความที่ปรากฏในโฉนดที่ดิน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6 ทรงพระราชทานให้เป็นที่ตั้งของมัสยิดและกุโบร์ (สุสาน) ในปี ร.ศ. 130 ตรงกับ พ.ศ. 2455

แต่เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการถือครองทรัพย์สินในฐานะนิติบุคคล อัลมัรฮูมฮัจยีอัลดุลกาเด บินฮัจยีมะหะหมัด ซึ่งเป็นผู้ดูแลมัสยิดและกุโบร์อยู่ในขณะนั้น จึงได้แก้ชื่อในโฉนดจาก ที่สุเหร่าและป่าช้าแขก มาเป็น นายหะยีอับดุลกาเด ในปี ร.ศ. 131 หรือ พ.ศ. 2456

ด้วยพระเมตตาจากอัลลอฮ์ และวิสัยทัศน์ที่มองการณ์ไกลของฮัจยีอับดุลกาเด ท่านได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมที่ดิน กระทรวงเกษตร กระทรวงพระนครบาล เพื่อแสดงเจตนาโอนทรัพย์สินและที่ดินในนามของฮัจยีอัลดุลกาเด ให้เป็นสมบัติของมัสยิดบ้านอู่ ใครจะเข้าถือสิทธิยึดครองไม่ได้การดังกล่าวได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2462 แล้ว แต่ยังไม่เป็นผล หน่วยงานราชการเหล่านั้นเพียงแต่ได้รับทราบเรื่องและลงบันทึกไว้เท่านั้น

ในสมัยของอิหม่ามท่านต่อ ๆ มา แม้ว่าจะมีกฎหมายให้นิติบุคคลถือครองกรรมสิทธิในทรัพย์สินได้แต่การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นชื่อของมัสยิด ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะติดขัดด้วยช่องทางด้านกฎหมาย รวมทั้งค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นค่าจดทะเบียนการโอนและค่าภาษี ต้องใช้เงินเป็นจำนวนที่สูงมาก เนื่องจากเป็นที่ดินที่อยู่ในย่านธุรกิจ

คณะกรรมการมัสยิดชุดปัจจุบัน ซึ่งได้รับการแต่งตั่งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 ถือเป็นภารกิจเร่งด่วนที่จะต้องรีบเร่งดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้เป็นชื่อของมัสยิดบ้านอู่โดยเร็ว  ประกอบกับได้มีพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงเมื่อ พ.ศ. 2541 ให้ยกเว้นภาษี รวมทั้งลดค่าจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่มัสยิด ช่วยให้ภาระค่าใช้จ่ายในการโอนลดน้อยลงมาก ดังนั้น คณะกรรมการจึงได้ดำเนินการโอนที่ดินทั้งหมด ให้เป็นชื่อของมัสยิดบ้านอู่จนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546

ที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารมัสยิด กุโบร์ และที่ดินวากัฟ ซึ่งปลูกบ้านพักอาศัย มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 2 ไร่ 22.75 ตารางวา คิดเป็นมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท

·       รายนามอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ประจำมัสยิด

ตำแหน่งอิหม่าม

ชื่อ-นามสกุล

วัน/เดือน/ปีที่/ตำรงตำแหน่ง

1.       นายหะยีอับดุลฮามิด (สนิท) ศรีทองคำ

พ.ศ. 2491

2.       นายหะยีสเลมัน  วีระชาติ

-

3.       นายรังสฤษดิ์  เชาวน์ศิริ

22 กันยายน 2529

4.       นายสว่าง  ลาวัง

2 พฤศจิกายน 2534  -  13 พฤศจิกายน 2544

5.       นายชัช  หะซาเล็ม

18 มกราคม 2546 – 13 กันยายน 2557

7 พฤษภาคม 2559 – 24 ตุลาคม 2560

6.       ว่าง

-

ตำแหน่งคอเต็บ

ชื่อ-นามสกุล

วัน/เดือน/ปีที่/ตำรงตำแหน่ง

1.       นายหะยีสเลมัน  วีระชาติ  

พ.ศ. 2491

2.       นายหะยีประสพ  จิตรานุกูล

-

3.       นายแห  สมัครมิ่ง

22 กันยายน 2529

4.       นายกาเซ็ม  เผ่าเราะห์มาน

2 พฤศจิกายน 2534  -  9 มิถุนายน 2551

5.       นายอารีย์  อู่งามสิน

11 ตุลาคม 2551  -  15 ก.ย. 2553

6.       นายมานิตย์  ศิริพร

8 มกราคม 2554  -  13 กันยายน 2557

7.       นายสมบัติ กระจ่างเวช

4 มีนาคม 2560 - ปัจจุบัน

ตำแหน่งบิหลั่น

ชื่อ-นามสกุล

วัน/เดือน/ปีที่/ตำรงตำแหน่ง

1.       นายสอิ๊ด  การุณยวิบูลย์

พ.ศ. 2491

2.       นายสมาน  สุวรรณศาสน์

-

3.       นายอารี  มนตรีวิสัย

22 กันยายน  2529

4.       นายนิรันดร์  ศิริพร

8 กรกฎาคม 2540  -  13 กันยายน 2557

5.       นายรังสฤษดิ์  มั่นใจอารย์  

7 พฤษภาคม 2559 -   2 กรกฎาคม 2559

6.       นายมารุต  นิ่มเจริญ

4 มีนาคม 2560 - ปัจจุบัน



รายละเอียดอื่นๆ






คณะกรรมการอิสลามประจำ มัสยิดบ้านอู่


วาระการดำรงตำแหน่ง 

ว่าง  -
อิหม่าม
ประธานกรรมการ

ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดบ้านอู่


ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 96 ครอบครัว  จำนวน 389 คน  ประกอบด้วย

  
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ
 - เพศชาย 179 คน
 - เพศหญิง 210 คน
 - รวม 389 คน
  
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี
 - เพศชาย 3 คน
 - เพศหญิง 2 คน
 - รวม 5 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 176 คน
 - เพศหญิง 208 คน
 - รวม 384 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี
 - เพศชาย 97 คน
 - เพศหญิง 118 คน
 - รวม 215 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 79 คน
 - เพศหญิง 90 คน
 - รวม 169 คน

ข้อมูลติดต่อ มัสยิดบ้านอู่


โทรศัพท์ 0-2630-9423 (มัสยิดบ้านอู่)
โทรสาร -
มือถือ -
อีเมล -
เว็บไซต์ https://masjid.islamicbangkok.or.th/masjid/id/19630
Facebook -
Twitter -
Youtube -

ข้อมูล สถานที่แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว มัสยิดบ้านอู่

รูปภาพ มัสยิดบ้านอู่

แผนที่ มัสยิดบ้านอู่

Scroll To Top