มัสยิดบางอ้อ (มัสยิดอุบูดียะห์)
มัสยิดบางอ้อ (มัสยิดอุบูดียะห์)
ทะเบียนเลขที่ | ธ.8 | วันที่จดทะเบียน | 9 สิงหาคม 2493 |
บ้านเลขที่ | 143 | หมู่ที่ | - |
หมู่บ้าน/ชุมชน | - | ซอย | จรัญสนิทวงศ์ 86 |
ถนน | จรัญสนิทวงศ์ | แขวง | บางอ้อ |
เขต | บางพลัด | จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
รหัสไปรษณีย์ | 10700 | เขตรับผิดชอบ | มัสยิดเขต 6 |
-
ทดสอบ
แหววดีเจผ้าห่มมาเฟีย สโตร์ เพลซซิลเวอร์แจ็กพ็อตเป็นไงฮอตดอก เย้วอพาร์ทเมนต์เปเปอร์อุปัทวเหตุ สไตรค์วาฟเฟิลสเตชั่น เฮอร์ริเคนดีพาร์ตเมนต์เซลส์แมนสวีทโปรเจ็คท์ หลวงพี่แอ็คชั่นทับซ้อนมาม่ารีเสิร์ช จ๊อกกี้ ซะวอลล์ โหลยโท่ยฮิปฮอป เอาต์โอเปอเรเตอร์กษัตริยาธิราช กัมมันตะ เคลียร์แบล็ก โจ๋เลดี้ ป๊อปซะล็อบบี้แฟลช ลิมูซีนสแตนเลสวอลนัทแอคทีฟดาวน์แรงดูดซิง คำสาปแบดธัมโมพิซซ่า ไมเกรนเสกสรรค์ซัพพลายเออร์ลาตินรัม เชอร์รี่แฟรนไชส์ จ ... อ่านต่อเพิ่มเติม » -
มัสยิดเปิดอบรมผู้สนใจศาสนาอิสลาม
-
มัสยิดจัดอบรมศาสนธรรมประจำสัปดาห์
ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดบางอ้อ (มัสยิดอุบูดียะห์)
มัสยิดบางอ้อ |
||||
|
||||
ที่ตั้ง |
เลขที่ 143
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 86 ถนนจรัญสนิทวงศ์
แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 |
|||
เลขหมายทะเบียน |
ธ.8 |
|||
วัน/เดือน/ปี
ที่รับจดทะเบียน |
9 สิงหาคม 2493 |
|||
ผู้ขอจดทะเบียน |
1.นายกริม โยธาสมุทร |
ตำแหน่งอิหม่าม |
||
2.นายไมตรี
บุณยศักดิ์ |
ตำแหน่งคอเต็บ |
|||
3.นายฝ่า นิลพานิช |
ตำแหน่งบิหลั่น |
|||
ประวัติความเป็นมา |
ประวัติมัสยิด มัสยิดบางอ้อเป็นแขวงหนึ่งใน
4 แขวงของเขตบางพลัด ตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของกรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี ทิศตะวันออกติดลำน้ำเจ้าพระยา
ทิศเหนือและทิศตะวันตกจรดทางรถไฟสายใต้ และทิศใต้ติดแขวงบางพลัดตามแนวคลองบางพลัดแต่เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้นานาชนิด
ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนมากตามริมแม่น้ำแต่ก่อนเป็นที่จอกแพซุงเป็นตลาดค้าไม้ซุง
และเป็นที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่นติดต่อกันไป เนื่องจากเป็นที่ลาดชายตลิ่ง
จึงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้น้ำนานาชนิด เช่น ต้นอ้อ ต้นพง ต้นลำพู
หญ้าคา มีลักษณะเป็นป่าหญ้าเป็นส่วนมาก ถิ่นนี้มีต้นอ้อมากที่สุด
จึงเป็นเหตุให้แขวงนี้ชื่อว่าบางอ้อ ตามชื่อต้นอ้อ สมัยตอนต้นรัชการที่
5 เริ่มมีประชาชนต่างถิ่นเข้ามาอยู่อาศัย
และทำสวนในขณะที่ชาวมุสลิมก็เริ่มเข้ามาตั้งหลักแหล่งและทำการค้าขายตามริมแม่น้ำในเวลาเดียวกัน
มุสลิมกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบางอ้อ
จากทิศใต้และมีที่ดินเป็นของตนเอง ตระกูลต่างๆเหล่านี้ ได้แก่ 1. ตระกูลท่านหม่าน และท่านพ่วง
สกุลสิทธิวณิชย์ โยธาสมุทร และมานะจิตต์ 2. สกุลซาลิมี
สายท่านหมุด ปากคลองพระครูด้านเหนือ 3. สกุลดำรงผล
นายอาดำ และนางผล เป็นต้นสกุล 4. สกุลซอลิฮี
มีนายหม่านห้าง และท่านหยา กรีมี เป็นต้นสกุล 5. สกุลมุขตารี
หรือค้าสุวรรณ ท่านอิบรอฮีม-นี เป็นเจ้าของที่ดินและบ้าน 6.
สกุลท่านเปลี่ยน และท่านช่วง เป็นเจ้าของที่ดินและบ้าน 7. สกุลซาลิมี
สายท่านน้อยและท่านขลิบ เป็นต้นสกุลและเจ้าของที่ดินที่ใช้สร้างมัสยิดบางอ้อ 8. สกุลวรพงษ์
ท่านจะ ตวนเล็ก เป็นต้นสกุล ปัจจุบันอพยพไปแล้ว 9. สกุลอิสมาอีล
มีท่านอีน เป็นต้นสกุล ปัจจุบันเป็นตระกูลกรีมี 10.
สกุลศุภพานิชย์ มีท่านแปลก และท่านหมัด (เนติ์) เป็นต้นตระกูล ตระกูลที่เพิ่มเติมและขยายตระกูลที่เพิ่มเติมและขยายถิ่นออกไปทางเหนือ
ได้แก่ 1. สกุลมุขตารี
ท่านหมิด และท่านพัน เป็นต้นสกุล อพยพมาจากคลองเตาอิฐด้านใต้ 2. สกุลนิลพานิช
ท่านหมัด ท่านส่า และท่านซุฟ เป็นต้นสกุล อพยพมาจากคลองบางรัก 3. สกุลยูซูฟ ท่านหมัด
และท่านหยา เป็นต้นสกุลคลองเตาอิฐ 4. สกุลเพ็ชรทองคำ
ท่านหมัด และท่านเซาะ ทิมเทศ สายท่านกุหลาบ (ญ) เป็นต้นสกุล 5. บูรณะวณิชย์
สายครูอีน จากสายท่านเปลี่ยน และท่านช่วง ชาวบางอ้อมีประวัติความเป็นมาในอดีต ในสมัยอยุธยา
ก่อนกรุงศรีอยุธยาถูกเผา พ.ศ. 2310 ชาวเมืองอยุธยาได้มีภัยสงคราม
โดยการล่องแพมาทางใต้ แยกกันไปคนละทิศละทางทั้งทหารและพลเรือน
จนกระทั่งพระเจ้าตากสินยกทัพเรือมาจากจันทบุรีขับพม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยาได้
และตั้งกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแทนกรุงศรีอยุธยา บ้านเมืองเป็นปกติสุขดังเดิม
ชาวบ้านที่กระจัดกระจายกันอยู่ก็เข้ามารวมกันอยู่ ณ ศูนย์กลางแห่งนี้ เนื่องจากในคลองบางหลวงมีศูนย์กลางของมุสลิมอยู่แล้ว
คือ มีชุมชน มีมัสยิด มีที่ฝังศพ (สุสาน) และอาคารอื่นๆ ที่ใช้ในกิจการศาสนา
โดยมีหลวงนายศักดิ์เป็นหัวหน้าชุมชนและมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรี (หมุด)
เป็นคนแรกของกรุงธนบุรี ชุมชนนี้ประกอบด้วยข้าราชการ ทหาร พลเรือน
มีที่มาต่างกัน โดยชาวจามและอาสาจามมาจากคลองประจาม เป็นมุสลิมสายซุนนี
ส่วนชีอะห์ได้แก่ ลูกหลานของเชคอะหมัด ซึ่งรับราชการในกรมท่าขวา กลุ่มที่ 3
ได้แก่ สายสุลต่านสุไลมาน
ซึ่งรับราชการในกองอาสาจามในนามบรรดาศักดิ์พระยาราชวังสัน ตำแหงจางวาง อาสา
จามซ้าย-ขวา มุสลิมเหล่านี้นอกจากจะอาศัยอยู่ในคลองบางหลวงแล้วยังขยายมาจอดแพอยู่ในคลองบางกอกน้อยและปากคลองบางกอกน้อยด้านเหนือ
ไปจนจรดวัดดาวดึงส์ อยู่ใกล้กับที่ทำงานคือวังหน้า
ส่วนอาสาจามและครอบครัวนั้นก็อยู่ใกล้เครื่องมือของตน
คือโรงเก็บเรือรบของพระเจ้าตากสิน เพื่อสะดวกและรวดเร็วเมื่อถูกใช้ในราชการ
จะเห็นได้ว่าชาวบางอ้อมิได้สืบสายสกุลมาจากปัตตานี ตามที่เข้าใจกัน มุสลิมชาวบางอ้อ
ตอนอยู่อยุธยามีอาชีพอะไรก็นำเอาอาชีพนั้นมาใช้ในกรุงเทพเช่นเดิม
ได้แก่รับราชการ เดินเรือ ประมงน้ำจืด เครื่องมือจับสัตว์น้ำ ทำขนมขาย พอมาอยู่บางอ้อได้เกิดอาชีพใหม่เพิ่มขึ้นได้แก่
การค้าไม้ซุง เดินเรือกลไฟ ลากจูงและรับส่งคนโดยสาร
ทุกบ้านจะมีแพซุงจอดอยู่หน้าบ้าน และมีเรือกลไฟลากจูงบ้านละลำสองลำไปจนถึง 10 ลำ
ฐานะของชาวบางอ้อค่อนข้างดี เป็นที่รู้จักของชาวมุสลิมทั่วไป ชุมชนมุสลิมบางอ้อ
ได้รวมกลุ่มครอบครัวได้ประมาณ 20-30 ครัวเรือน
จึงได้จัดแพที่อยู่ให้เป็นที่ทำการของศาสนา ละหมาดตะรอเวียะห์ ในเดือนรอมดอน
จัดงานเมาลิด และมีการเลี้ยงอาหารร่วมกันบนแพหลังนั้น
เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนมากขึ้นจึงได้ขยับขยายสร้างสถานที่ใหม่บนพื้นดินเป็นอาคารไม้ทรงสี่เหลี่ยม
ขนาดพอๆ กับแพ ประมาณระหว่าง พ.ศ. 2448-พ.ศ. 2458
ได้มีการดำริที่จะสร้างมัสยิดเป็นการถาวรแทนอาคารไม้
จึงได้สร้างอาคารไม้ทรงปั้นหยาขึ้นใหญ่กว่าเดิมใช้เป็นที่ละหมาด เรียนอัลกุรอาน
สำเร็จเมื่อ ฮ.ศ. 1324 อีก 5-6 ปี เริ่มสร้างมัสยิดหลังปัจจุบันนี้สำเร็จในปี
ฮ.ศ. 1339 รูปทรงมัสยิดเป็นแบบสถาปัตยกรรมแบบอินเดีย
ผสมผสานตามลักษณะลายปูนปั้นที่สร้างตามแบบยุโรปในสมัยนั้น
โดยสังเกตจากแบบของโดมทั้งสองข้าง ยกพื้นสูงกว่าที่อยู่อาศัย
พื้นชั้นบนเป็นท่อนซุงวางตามแนวตัวอาคาร พื้นใช้ดินและทรายถมบนแนวซุง
ส่วนมิมบัรสร้างด้วยไม้สักสลักลวดลายสวยงามตามแบบสมัยนิยมในรัชการที่ 5 มัสยิดบางอ้อได้จดทะเบียนเป็นมัสยิด เมื่อ พ.ศ. 2493 เลขทะเบียน ธ.
8 โดยอิหม่ามเจริญ ซาลิมี ได้เลือกตั้งในต้นปี 2494 |
1. นายเจริญ พานิชเจริญศักดิ์ |
พ.ศ. 9 ส.ค. 2493 - ส.ค. 2507 |
2. นายกริม โยธาสมุทร |
พ.ศ. 28 ส.ค. 2507 - ส.ค. 2531 |
3. นายซัน เรืองวงษ์ |
พ.ศ. ส.ค. 2531 - ธ.ค. 2532 |
4. นายมณี ชื่นภักดี |
พ.ศ. 19 พ.ค. 2533 - 16
เม.ย. 2543 |
5. นายหมัดอร่าม ทรงศิริ |
พ.ศ. 13 ส.ค. 2543 -
ปัจจุบัน |
1. นายกริม โยธาสมุทร |
พ.ศ. 9 ส.ค. 2493 - ส.ค. 2507 |
2. นายไมตรี บุณยศักดิ์ |
พ.ศ. 28 ส.ค. 2507 -
2543 |
3. นายทวีศักดิ์ มะเหม็ง |
พ.ศ. 13 ส.ค. 2543 -
ปัจจุบัน |
1. นายฝ่า นิลพานิช |
พ.ศ. 9 ส.ค. 2493 - 2521 |
2. นายกอเซ็ม เหมวิลัย |
พ.ศ. 7 ม.ค. 2521 -21
พ.ย. 2549 |
3. นายอุทัย ไวถนอมสัตว์ |
พ.ศ. 11 ส.ค. 2550 -
ปัจจุบัน |
1.
นายมนตรี มุขตารี |
7.
นายภิรมย์ ศุภพาณิชย์ |
2.
นายชาญโยธา โยธาสมุทร |
8.
นายภานุวัตร ดำรงค์พล |
3.
นายอดุลย์ โยธาสมุทร |
9.
นายเรวัฒน์ ดำรงพล |
4.
นายศุภประเสริฐ พูนพาณิชย์ |
10.
นายวิชัย วิหวา |
5.
นายศิริ บูรณวนิช |
11.
นายอนุสรณ์ ตานีพันธ์ |
6.
นายการิม ยูซูฟี |
12.
นางอุไร มูฮำหมัด |
1. นายอดุลย์ โยธาสมุทร |
7. นายภานุวัตร ดำรงผล |
2. นายหริ่ม ดำรงผล |
8. นายการิม ยูซูฟี |
3. นายศุภประเสริฐ พูนพาณิชย์ |
9. นายอดุลย์ สิทธิสงวน |
4. นายมาโนช ระดิ่งหิน |
10. นายอาดำ โอฐสร้อยสำอางค์ |
5. นายวิชัย วิหวา |
11. นายสุพัตพงค์ บุญดี |
6. นายศิริ บูรณวนิช |
12. นายนพดล เรืองทองดี |
คณะกรรมการอิสลามประจำ มัสยิดบางอ้อ (มัสยิดอุบูดียะห์)
วาระการดำรงตำแหน่ง
ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดบางอ้อ (มัสยิดอุบูดียะห์)
ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 385 ครอบครัว จำนวน 1,435 คน ประกอบด้วย
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ | |
- เพศชาย | 677 คน |
- เพศหญิง | 758 คน |
- รวม | 1,435 คน |
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี | |
- เพศชาย | 49 คน |
- เพศหญิง | 29 คน |
- รวม | 78 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 628 คน |
- เพศหญิง | 729 คน |
- รวม | 1,357 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี | |
- เพศชาย | 436 คน |
- เพศหญิง | 470 คน |
- รวม | 906 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 192 คน |
- เพศหญิง | 259 คน |
- รวม | 451 คน |
ข้อมูลติดต่อ มัสยิดบางอ้อ (มัสยิดอุบูดียะห์)
โทรศัพท์ | 0-2423-0480 |
โทรสาร | 0-2433-3711 |
มือถือ | 081-931-8677 |
อีเมล | - |
เว็บไซต์ | http://www.masjidbang-aw.com |
https://th-th.facebook.com/masjid.bangaw | |
- | |
Youtube | - |