วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567 14:19 น.

มัสยิดฮารูณ

  • มัสยิดฮารูณ

    มัสยิดฮารูณ

    ระบบจัดการข้อมูลมัสยิด โดยสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร...

  • มัสยิดฮารูณ

    มัสยิดฮารูณ

    ระบบจัดการข้อมูลมัสยิด โดยสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร...

  • มัสยิดฮารูณ

    มัสยิดฮารูณ

    ระบบจัดการข้อมูลมัสยิด โดยสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร...

  • มัสยิดฮารูณ

    มัสยิดฮารูณ

    ระบบจัดการข้อมูลมัสยิด โดยสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร...

มัสยิดฮารูณ

ทะเบียนเลขที่ 2 วันที่จดทะเบียน 29 พฤศจิกายน 2491
บ้านเลขที่ 25 หมู่ที่ -
หมู่บ้าน/ชุมชน - ซอย เจริญกรุง 36
ถนน เจริญกรุง แขวง บางรัก
เขต บางรัก จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ 10500 เขตรับผิดชอบ มัสยิดเขต 1


     
    - ไม่มีข่าวและกิจกรรม -


ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดฮารูณ


มัสยิดฮารูณ

 

ที่ตั้ง

เลขที่ 25 ซอยเจริญกรุง 36 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก  กรุงเทพมหานคร 10500

เลขหมายทะเบียน

2

วัน/เดือน/ปี ที่รับจดทะเบียน

29  พฤศจิกายน  2491

ผู้ขอจดทะเบียน

นายสุรินทร์  กาญจนา

ตำแหน่งอิหม่าม

นายมณี  วานิชโช

ตำแหน่งคอเต็บ

นายมูฮำมัด  ซาอิ้ด

ตำแหน่งบิหลั่น

·       ประวัติความเป็นมา

มัสยิดฮารูณ (Haroon Mosque) สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2371 โดยโต๊ะฮารูณ บาฟาเดน ชาวเมืองปนตียานักจากเกาะบอร์เนียว โต๊ะอิหม่ามคนแรกของมัสยิด เป็นมัสยิดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในย่านถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร  เพื่อเป็นมัสยิดของชุมชนหมู่บ้านต้นสำโรง (ปัจจุบันคือบริเวณชุมชนมัสยิดฮารูณ) ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2442 รัฐบาลไทยได้เวนคืนพื้นที่ตั้งมัสยิดซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อสร้างอาคารศุลกสถาน มัสยิดจึงย้ายมายังบริเวณที่ตั้งปัจจุบันซึ่งถอยร่นเข้ามาจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยสร้างอาคารมีลักษณะเป็นเรือนไม้สักยกพื้นชั้นเดียว หลังท่านเสียชีวิตลง อาคารได้ทรุดโทรมลงมาก บุตรชายของท่านคือ หะยีมูฮำหมัด ยูซุป (ต่วนโส) ผู้เป็นโต๊ะอิหม่ามคนถัดมาได้รื้ออาคารมัสยิดเดิมลงและก่อสร้างอาคารก่อิฐถือปูนขึ้น สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2477 และยังคงใช้งานสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน

มัสยิดฮารูณ แต่ก่อนนั้น มีหลายชื่อซึ่งเรียกตามสถานที่โดยรอบ ได้แก่ "มัสยิดต้นสำโรง" (ตามชื่อหมู่บ้านต้นสำโรง) "มัสยิดม่วงแค" (ตามชื่อวัดม่วงแค) และ "มัสยิดหลังโรงภาษี" (ตามชื่อศุลกสถาน) หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 ได้จดทะเบียนมัสยิดในชื่อ "มัสยิดฮารูณ" เพื่อเป็นเกียรติแด่โต๊ะฮารูณ บาฟาเดน อิหม่ามท่านแรกและผู้ก่อตั้งมัสยิด

ภายในอาคารบริเวณชั้น 2 ตกแต่งอย่างเรียบง่ายแต่สวยงามด้วยสีเขียวและสีแดง ประกอบด้วยมิมบัร (ที่สำหรับแสดงธรรม) และเมียะห์รอบ (ที่สำหรับอิหม่ามนำละหมาด)ส่วนด้านบนรอบโถงมีลายอักษรอาหรับเป็นบทแรกในพระคัมร์อัลกุรอานเหนือมิมบัรประดับด้วยโคมไฟที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมมัสยิดฮารูณ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีทรงเสด็จร่วมพิธีฝังศพจุฬาราขมตรี ต่วน สุวรรณศาสน์

บริเวณด้านหน้าของมัสยิดมีกุโบร (สุสาน) ซึ่งเป็นที่ฝังศพของบุคคลสำคัญ เช่น ท่่านจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์ รวมทั้งนายทหารจากสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม มัสยิดฮารูณนอกจากจะใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชนมุสลิฮารูณและชาวมุสลิมทั่วไปแล้ว ยังมีทั้งชาวต่างชาติรวมถึงประเทศในกลุ่มอาหรับก็ได้มาร่วมปฏิบัติศาสนกิจอยู่เสมอรวมถึงยังได้ต้อนรับบุคคลสำคัญจากต่างประเทศอีกมากมาย

·       รายนามอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ประจำมัสยิด

ตำแหน่งอิหม่าม

ชื่อ-นามสกุล

วัน/เดือน/ปีที่/ตำรงตำแหน่ง

1.       นายสุรินทร์  กาญจนา

พ.ศ. 2491

2.       นายมารุต  วัชระพิสุทธิ์

4 สิงหาคม 2527 – 27 ธ.ค. 2529

3.       นายมารุต  วัชระพิสุทธิ์

12 เมษายน 2538 - 18 กรกฎาคม 2547

4.       นายธนารัช  วัชระพิสุทธิ์

12 พฤศจิกายน 2548 – ปัจจุบัน

ตำแหน่งคอเต็บ

ชื่อ-นามสกุล

วัน/เดือน/ปีที่/ตำรงตำแหน่ง

1.       นายมณี  วานิชโช

พ.ศ. 2491

2.       นายจรัญ  กัลยาณวิชัย

พ.ศ. 2491 – 27 ธันวาคม 2529

3.       นายจรัญ  กัลยาณวิชัย

12 เมษายน 2538 - 26 กุมภาพันธ์ 2548

4.       นายสิทธิรัชต์  วัชระพิสุทธิ์

12 พฤศจิกายน 2548 - ปัจจุบัน

ตำแหน่งบิหลั่น

ชื่อ-นามสกุล

วัน/เดือน/ปีที่/ตำรงตำแหน่ง

1.       นายมูฮำมัด  ซาอิ้ด

พ.ศ. 2491

2.       นายอาบิดีน  สะอิ๊ดมหะหมัด

4 สิงหาคม 2527 – 27 ธันวาคม 2529

3.       นายสมเดช  ซาฮิบ

12 เมษายน 2538  -  22 สิงหาคม 2548

4.       นายเชาวลิต  ธนะไพรินทร์

12 พฤศจิกายน 2548 - 1 ตุลาคม 2552

5.       นายวุฒิ  หอมชื่น

16 มิถุนายน 2555 - ปัจจุบัน



คณะกรรมการอิสลามประจำ มัสยิดฮารูณ


วาระการดำรงตำแหน่ง 

อิหม่าม
ประธานกรรมการ
ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน
คอเต็บ
รองประธานกรรมการ
ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน
บิหลั่น
รองประธานกรรมการ
ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน

ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดฮารูณ


ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 230 ครอบครัว  จำนวน 1,610 คน  ประกอบด้วย

  
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ
 - เพศชาย 765 คน
 - เพศหญิง 845 คน
 - รวม 1,610 คน
  
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี
 - เพศชาย 58 คน
 - เพศหญิง 50 คน
 - รวม 108 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 707 คน
 - เพศหญิง 795 คน
 - รวม 1,502 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี
 - เพศชาย 449 คน
 - เพศหญิง 502 คน
 - รวม 951 คน
  
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
 - เพศชาย 258 คน
 - เพศหญิง 293 คน
 - รวม 551 คน

ข้อมูลติดต่อ มัสยิดฮารูณ


โทรศัพท์ -
โทรสาร -
มือถือ 08-1488-8154
อีเมล haroonconnect@gmail.com
เว็บไซต์ https://masjid.islamicbangkok.or.th/masjid/id/10129
Facebook -
Twitter -
Youtube -

รูปภาพ มัสยิดฮารูณ

แผนที่ มัสยิดฮารูณ

Scroll To Top