มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม (คลองตัน)
มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม (คลองตัน)
ทะเบียนเลขที่ | 21 | วันที่จดทะเบียน | 4 เมษายน 2492 |
บ้านเลขที่ | 2547 | หมู่ที่ | - |
หมู่บ้าน/ชุมชน | - | ซอย | - |
ถนน | เพชรบุรีตัดใหม่ | แขวง | สวนหลวง |
เขต | สวนหลวง | จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
รหัสไปรษณีย์ | 10250 | เขตรับผิดชอบ | มัสยิดเขต 2 |
-
มัสยิดจัดเลี้ยงละศีลอด ค่ำ 27
เมื่อค่ำวันพฤหัสบดีที่ 28 เม.ย. ซึ่งเป็นค่ำที่ 27 เดือนรอมฎอน มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม คลองตัน ได้จัดเลี้ยงละศีลอดแบบนิวนอร์มอล โดยใช้ถาดหลุมสเตนเลสอย่างดีมีฝาปิดมิดชิด เสริฟอาหารคาว หวาน เครื่องดื่มอีกหลายอย่างจากจิตกุศลของพี่น้องหลายคน หลายครอบครัว ขออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตอบแทนความดีงามแก่ทุกท่าน ทุกครอบครัวและพี่น้องที่ช่วยจัดเลี้ยงทุกท่านเป็นทวีคูณด้วยเทอญ วันนี้ อ.อับบาส ประยงค์ทอง เป็นอิหม่ามนำละหมาดอีซาและต ... อ่านต่อเพิ่มเติม » -
รองผู้ว่ากทม.เยี่ยมศูนย์พักคอยผู้ป่วยโรคโควิดของชุมชนบึงพระรามเก้า
-
อิหม่ามและกรรมการมัสยิดร่วมงานเปิดร้านข้าวมันไก่ของดร.เอกรินทร์ อยู่บำรุง
-
เยาวชนคลองตันทำความสะอาดมัสยิดต้อนรับวันตรุษอีฎิ้ลอัดฮา
-
ตรุษอีดิ้ลฟิตริ 1439
-
ผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครเยี่ยมเยียนกรรมการและสัปปุรุษมัสยิดคลองตัน
ข่าวและกิจกรรมทั้งหมด
ประวัติความเป็นมาของ มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม (คลองตัน)
มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม |
||||
|
||||
ที่ตั้ง |
เลขที่ 2547
ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
กรุงเทพมหานคร 10250 |
|||
เลขหมายทะเบียน |
21 |
|||
วัน/เดือน/ปี
ที่รับจดทะเบียน |
04 เมษายน
2492 |
|||
ผู้ขอจดทะเบียน |
1.นายหะยีอับดุรเราะห์มาน เพียรมานะ |
ตำแหน่งอิหม่าม |
||
2.นายเราะห์หมัด มูลทรัพย์ |
ตำแหน่งคอเต็บ |
|||
3.นายสะและห์ รักสลาม |
ตำแหน่งบิหลั่น |
|||
ประวัติความเป็นมา |
คลองตันเป็นชื่อตำบลหนึ่ง มีทางน้ำแยกเป็น 3 สาย แยกหนึ่งไปทางประตูน้ำ แยกสองไปมีนบุรี หนองจอก แยกสามไปทางพระโขนง ในสมัยนั้นทางสัญจรที่จะใช้ผ่านไปทางพระโขนงมีทำนบกั้นสูงมาก ไม่สามารถที่จะใช้เป็นเส้นทางผ่านไปมาได้ ชาวบ้านในละแวกนั้น จึงเรียกตำบลนี้ว่า “คลองตัน” ซึ่งในยุคนั้นมีประชากรมุสลิมอยู่เป็นส่วนน้อย ประมาณ 125 ปีย้อนหลัง
พี่น้องมุสลิมกลุ่มหนึ่ง ย้ายมาจากตำบลสามอิน
และจับจองซื้อที่ดินในบริเวณสามแยกคลองตันฝั่งด้านตะวันออก
(ฝั่งเขตสวนหลวงในปัจจุบัน) และได้ร่วมกันสละทรัพย์คนละเล็กละน้อยก่อสร้างเรือนไม้
เพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ โดยมีโต๊ะกีโต
เป็นอิหม่ามคนแรก สิบปีต่อมา
มีพี่น้องมุสลิมอีกกลุ่มหนึ่ง ย้ายจากสามอินเข้ามาสมทบ โดยมีโต๊ะกีมัน โต๊ะกีจู
มูลทรัพย์ โต๊ะเลื่อน เพียรมานะ ครูฮีม(แซะห์) โต๊ะกีเซ็น โต๊ะกีซัน
โต๊ะกีลี โต๊ะนิ่ม นะมิ โต๊ะกีมาน
รักสลาม และโต๊ะกีจู
ฯลฯได้จัดซื้อที่ดินจากสามแยกคลองตัน ไปถึงปากคลองลาดพร้าว ติดต่อเขตวัดน้อย กอร์ปกับเวลานั้นโต๊ะกีโตได้ถึงแก่กรรม
โต๊ะเลื่อน เพียรมานะ ได้มอบที่ดิน 100 ตารางวา
เป็นวากั๊ฟเพื่อสร้างสุเหร่า(ที่ตั้งมัสยิดปัจจุบัน) และย้ายสุเหร่าจากที่เก่ามาทำการก่อสร้างใหม่ในที่ดินแปลงนี้
โดยมีครูฮีม (แซะห์) เป็นอิหม่ามคนที่สอง ปลายสมัย ร.7 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฮัจยีฮาซัน นรฮีม ได้สำเร็จการศึกษา และกลับจากมักกะห์
ครูฮีม(แซะห์) ซึ่งเป็นอิหม่ามในขณะนั้นได้ลาออก คณะกรรมการฯ จึงประชุมเลือกให้ครูซัน นรฮีม ดำรงตำแหน่งอิหม่ามคนที่สามสืบต่อมา
โดยมีฮัจยีดล เพียรมานะ เป็นคอเต็บ
ฮัจยีซอและห์ มูลทรัพย์ เป็นบิหลั่น
ในระยะนี้มีสัปปุรุษเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
จึงได้มีการประชุมเพื่อรวบรวมเงินขยายมัสยิดหลังเดิมให้กว้างขวางมากขึ้น
โดยมีฮัจยีหมัด(อยุธยา) เป็นนายช่าง ระหว่างที่กำลังก่อสร้างมัสยิดยังไม่ทันเสร็จ
ครูซัน นรฮีม
มีความจำเป็นต้องลาออกจากอิหม่าม ต่อมาคณะกรรมการฯ ได้ประชุมเลือกให้ฮัจยีดล เพียรมานะ ดำรงตำแหน่งอิหม่ามคนที่สี่สืบต่อไป
โดยมีฮัจยีซอและห์ มูลทรัพย์ เป็นคอเต็บ
กีหวังและห์ รักสลาม เป็นบิหลั่น
และได้ดำเนินการก่อสร้างมัสยิดจนเสร็จเรียบร้อย
ระหว่างนี้ได้มีการติดต่อขอสัปบุรุษจากสุเหร่าบ้านต้นไทร(บ้านดอนปัจจุบัน)
จากอิหม่ามเลาะห์ กระเดื่องเดช
และสัปปุรุษจากเขตวัดภาษี(นวลน้อยในปัจจุบัน) เรื่อยมาจนถึงคลองตัน
ซึ่งทั้งหมดก็ยินดีมาเป็นสัปปุรุษของมัสยิดคลองตันในสมัยนั้น ปี พ.ศ.2475
มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้น
จึงได้จัดการก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลด้านหลังมัสยิดโดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาลสุเหร่าคลองตัน” ปี พ.ศ.2477 อิหม่ามดล
เพียรมานะ และคณะกรรมการมัสยิด มีโต๊ะกีมาน รักสลาม ฮัจยีซัน น้อยนงเยาว์ โต๊ะกี ฮัจยีมาน พุ่มดอกไม้
ฮัจยีเฮม น้อยนงเยาว์
โต๊ะกีเลาะห์ มูลทรัพย์ หมอเต็บ
อับดุลสลาม ฯลฯ พิจรณาแล้วเห็นว่า ในขณะนี้สัปปุรุษเพิ่มขึ้นจำนวนมาก
อิหม่ามจึงประชุมสัปปุรุษทั้งหมด เพื่อทำการขยายมัสยิดต่อไป ที่ประชุมตกลง
โดยโต๊ะเลื่อน เพียรมานะ
แจ้งความจำนงขายที่ให้มัสยิดอีก 100 ตารางวา โดยคิดตารางวาละ
100 บาท รวมเป็นเนื้อที่มัสยิดทั้งหมด 250 ตารางวา จนถึงปัจจุบัน
อิหม่ามคนต่อมาได้แก่ อิหม่ามอับดุรเราะห์มาน เพียรมานะ ดำรงตำแหน่งอิหม่ามคนที่ห้า ในปี
พ.ศ.2478 โดยมีฮัจยีซอและห์
มูลทรัพย์ เป็นคอเต็บ กีหวังและห์
รักสลาม เป็นบิหลั่น
คณะกรรมการมัสยิดในยุคนั้นได้ดำเนินการที่สำคัญคือก่อตั้งและจดทะเบียนมูลนิธิชื่อ
“สุเหร่าคลองตันมูลนิธิ” (ซึ่งได้มีดำหริมาตั้งแต่ยุคของท่านอิหม่ามดล เพียรมานะ)
เป็นผลสำเร็จ ระยะต่อมา
มัสยิดหลังเก่าได้ชำรุดทรุดโทรมลง ประกอบกับสัปรุปุษได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น
จึงมีการจัดสร้างมัสยิดขึ้นใหม่ เป็นทรงปั้นหยาสองชั้น สมัย จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
ทางมัสยิดได้งบประมาณมาจำนวนหนึ่ง เพื่อมาทำนุบำรุง และซ่อมแซมโรงเรียน
พร้อมทั้งใช้ก่อสร้างอาคารมัสยิดรวมไปด้วย
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาใช้ในมัสยิดฯ
โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายลพ มัติศิลปิน
และนายสังข์ น้อมโนทัย เพียงระยะเวลา 7 วัน การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆก็เรียบร้อย
และได้ดำเนินการเปิดใช้กระแสไฟฟ้า โดยมีนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาล
พร้อมทั้งบรรดาอิหม่ามจากตำบลต่างๆ เป็นผู้ดำเนินการเปิดการใช้กระแสไฟฟ้า ประมาณ 10 ปีต่อมา ทางราชการได้ทำการตัดถนนใหม่
(ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ช่วงที่ 2) แนวถนนนี้ผ่านกลางกุโบร โดยไม่มีทางเลี่ยง
จึงจำเป็นต้องยกที่กุโบรให้ทางเทศบาล โดยเทศบาลให้เงินค่าที่ดิน
และค่าทำการขนย้ายกุโบรจำนวนหนึ่ง
คณะกรรมการฯจึงได้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วในการขุดย้ายกุโบร
โดยปกติตำแหน่งอิหม่ามเป็นตำแหน่งที่จะดำรงอยู่ได้ตลอดชีพ
แต่อิหม่ามอับดุรเราะห์มาน เพียรมานะ
ถืออายุการเป็นอิหม่ามเท่ากับคณะกรรมการมัสยิด คือ 4 ปี เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถดำรงตำแหน่งบ้าง
ปรากฏว่าอิหม่ามอับดุรเราะห์มาน เพียรมานะ
ได้รับเลือกอยู่เสมอ
อิหม่ามอับดุรเราะห์มาน เพียรมานะ
ได้ลาออกอีกครั้งหนึ่ง
เนื่องจากท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพฯ เมื่อตำแหน่งอิหม่ามว่างลง
คณะกรรมการฯและสัปบุรุษจึงได้ประชุมและได้ลงมติเลือกให้ฮัจยีฮัสบุลเลาะห์ อามินเซ็น
ซึ่งเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอเมริกัน ยูนิเวอร์ซิตี้ ประเทศอียิปต์
เป็นอิหม่ามคนที่หก สืบต่อไป โดยมีครูหมัด
เพียรมานะ เป็นคอเต็บ นายสุดิน
รักสลาม เป็นบิหลั่น สำหรับมัสยิดหลังปัจจุบันนี้
ได้เริ่มก่อสร้างในสมัยอิหม่ามฮัจยีอับดุรเราะห์มาน เพียรมานะ ดำรงตำแหน่งอยู่ ในปี พ.ศ.2512 ขณะนั้นความเจริญได้แผ่ขยายมาถึงตำบลคลองตัน
ซึ่งประกอบกับเวลานั้นอาคารมัสยิดกำลังทรุดโทรมไปตามวาระ
คณะกรรมการฯจึงได้มีการประชุมเพื่อที่จะจัดสร้างหรือซ่อมแซมมัสยิดให้ดีขึ้น
ขณะนั้นคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลาม แห่งประเทศไทย
กำลังจะจัดสร้างศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทยขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกัน
ได้ทาบทามคณะกรรมการมัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม ให้ย้ายมัสยิดมาสร้างรวมกัน
ซึ่งก็เห็นดีด้วยในครั้งแรก ต่อมาระยะหลังคณะกรรมการฯและสัปบุรุษ
ได้ประชุมร่วมกับประธานมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางฯ เกี่ยวกับสิทธิและระเบียบปฏิบัติอันพึงมีของสัปปุรุษชาวคลองตัน
แต่ไม่เป็นที่ตกลงกัน จึงดำริที่จะสร้างมัสยิดหลังใหม่อยู่ในสถานที่เดิม
จำนวนค่าก่อสร้างทั้งหมด 2,500,000 บาท
โดยคณะกรรมการฯและสัปปุรุษ ประชุมเลือกให้ฮัจยีริฟาอี มูลทรัพย์ เป็นประธานการก่อสร้าง
และต่อมาได้เลือก ฮัจยีอับดุรเราะห์มาน
เพียรมานะ เป็นประธานกรรมการก่อสร้างต่อไป
และได้ทำการวางรากฐานการก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2513 มีนายต่วน สุวรรณศาสตร์
(อดีตจุฬาราชมนตรี) เป็นประธานวางรากฐานการก่อสร้าง
โดยสิ้นงบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 2,712,999 บาท
(สองล้านเจ็ดแสนหนึ่งหมื่นสองพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน) ปัจจุบันมัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม
(คลองตัน) มีฮัจยีนริศ(คอลิด) อามินเซ็น
เป็นอิหม่าม (คนที่เจ็ด) ฮัจยี มนตรี
(อะห์หมัด) นะมิ เป็นคอเต็บ ฮัจยีอารี (ซุกรี่) อับดุลสลาม
เป็นบิหลั่น |
1.นายหะยีอับดุรเราะห์มาน
เพียรมานะ |
พ.ศ .2492 |
2.นายอิมรอน เพียรมานะ |
|
3.นายประสิทธิ์ อามินเซ็น |
พ.ศ. 2515
- 2550 |
4.นายนริศ
อามินเซ็น |
พ.ศ. 2550
- ปัจจุบัน |
1.นายเราะห์หมัด มูลทรัพย์ |
พ.ศ. 2492 |
2.นายลี พุ่มดอกไม้ |
|
3.นายมูฮำหมัด เพียรมานะ |
พ.ศ. 2515 - 2534 |
4.นายสุวิทย์
อนันต์นับ |
พ.ศ. 2535 -
2544 |
5.นายนริศ
อามินเซ็น |
พ.ศ. 2544 -
2550 |
6.นายมนตรี นะมิ |
พ.ศ. 2550 –
ปัจจุบัน |
1.นายสะและห์ รักสลาม |
พ.ศ. 2492 |
2.นายสุดิน รักสลาม |
พ.ศ. 2515
|
3. นายอารี อับดุลสลาม |
ปัจจุบัน |
1.
นายสมหมาย มูลทรัพย์ |
7.
นายวิโรจน์ นะมิ |
2.
นายสมพร ดีหมัด |
8.
นายสำลี บางชมพู |
3.
นายมนัส วงษ์ยิ้ม |
9.
นายสง่า อามินเซ็น |
4.
นายสมชาย และคง |
10.
นายสุไลมาน นะมิ |
5.
นายสมหวัง สางสว่าง |
11.
นายมานะ ผ่องเผือก |
6.
นายอดุลย์ มูลทรัพย์ |
12.
นายอดุลย์ ฤทธิ์งาม |
1.นายสมพร ดีหมัด |
7.นายสมหวัง สาสว่าง |
2.นายสมหมาย มูลทรัพย์ |
8.นายการีม ฮานาฟี |
3.นายสะเล็ม นะมิ |
9.นายอดุลย์ มูลทรัพย์ |
4.นายสมัส วงษ์ยิ้ม |
คณะกรรมการอิสลามประจำ มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม (คลองตัน)
วาระการดำรงตำแหน่ง
-
กรรมการ
ฝ่ายบริหาร
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายการเงิน
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายทะเบียน
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายวิชาการ
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายบริหาร
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายบริหาร
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายบริหาร
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายบริหาร
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายอาคารสถานที่
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
กรรมการ
ฝ่ายอาคารสถานที่
รายละเอียดเพิ่มเติม
ข้อมูลสัปปุรุษประจำ มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม (คลองตัน)
ปัจจุบันมีสัปปุรุษทั้งหมด 270 ครอบครัว จำนวน 1,394 คน ประกอบด้วย
สัปปุรุษทั้งหมดทุกช่วงอายุ | |
- เพศชาย | 717 คน |
- เพศหญิง | 677 คน |
- รวม | 1,394 คน |
สัปปุรุษอายุต่ำกว่า 15 ปี | |
- เพศชาย | 30 คน |
- เพศหญิง | 20 คน |
- รวม | 50 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 687 คน |
- เพศหญิง | 657 คน |
- รวม | 1,344 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 15 - 59 ปี | |
- เพศชาย | 550 คน |
- เพศหญิง | 481 คน |
- รวม | 1,031 คน |
สัปปุรุษอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป | |
- เพศชาย | 137 คน |
- เพศหญิง | 176 คน |
- รวม | 313 คน |
ข้อมูลติดต่อ มัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม (คลองตัน)
โทรศัพท์ | 02-318-2006 |
โทรสาร | - |
มือถือ | 089-924-4400 |
อีเมล | s_deemad@yahoo.com |
เว็บไซต์ | - |
https://bit.ly/2Edgygh | |
- | |
Youtube | - |